การประเมินหาพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัตขอนแก่นและมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาและประเมินผลการใช้ที่ดินของจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม การดำเนินการได้ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม ขาว-ดำ แบนต์ ๕ และ ๗ มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ ซึ่งถ่ายทำเมื่อปี พ. ศ. ๒๕๑๖ และ ๒๕๒๒ และใช้ฟิล์มสีผสมบริเวณเดียวกัน มาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐,๐๐๐ เป็นพื้นฐานในการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินในปัจจุบันเปรียบเทียบการ เปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน เพื่อจัดทำแผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่การเปลี่ยนแปลงและแผนที่แหล่งที่จะมีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อทำแผนที่สำเร็จแล้วได้มีการออกสำรวจทางภาคพื้นดินในขอบเขตของทั้งสองจังหวัดเพื่อตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด
การศึกษาพบว่าสามารถแยกรูปแบบการใช้ที่ดินได้เป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งแยกเป็นนาข้าวและนาผสมป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ซึ่งประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และไร่เสื่อนลอย นอกจากจากนี้ยังจำแนกแหล่งน้ำได้ เป็นเขื่อนเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ การศึกษายังค้นคว้าถึงปริมาณผลผลิตไม้ซุง, มวลชีวภาพ, ปริมาณไม้ฟืน และยังพบว่าพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดขอนแก่นลดลงร้อยละ ๑๖.๒๘ ต่อปี จังหวัดมหาสารคามลดลงร้อยละ ๑๑.๑๙ ต่อปี และยังประเมินหาพื้นที่ถือครองทางเกษตรที่ถูกต้องตามกฎหมายได้โดยใช้แผนที่พื้นที่ป่าสงวนมาพิจารณาประกอบ
การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งเสริมและพัฒนาทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ พบว่ามีพื้นที่ชายเขา-และเนินสูงที่ควรส่ง เสริมเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงปศุสตว์ ในจังหวัดขอนแก่น ๒๕๖,๓๖๔ เฮคแตร์ (๒๔.๑๒%) ส่วนในจังหวัดมหาสารคามพื้นที่ที่สมควรส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๒๕,๑๔๒ เฮตแตร์ (๒๑. ๖๕%)
ผลการศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน พบว่าคุณลักษณะดินในทั้งสองจังทวัดในพื้นที่การเกษตร มีปริมาณก้อนกรวดน้อย มีปริมาณน้ำหนัก/ปริมาตรมากกว่าดินในพื้นที่ป่าไม้ และมีความพรุนน้อยกว่าดินป่าไม้ เมื่อพิจารณาคุณสมบัติทาง เคมีพบว่าดินในพื้นที่ทำการเกษตรมีปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแมกนีเซียมน้อยกว่าดินในพื้นที่ป่าไม้
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กพบว่ามีพื้นที่และแหล่งที่เหมาะสมและมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาจัดสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก คือ ฝ่ายเก็บน้ำ ๗ แห่ง บ่อน้ำลึก ๔ แห่ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”