ลักษณะเซลล์ผิวของลำหวายในเชิงอนุกรมวิธานและคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในเรื่องนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์เซลล์ผิวของลำหวายอย่างละเอียด โดยอาคัย ข้อมูลจากผลการศึกษาเรื่อง Anatomical Investigation of Javanese Rattan Canes as a Guide to their Identification โดย Siripatanadilok, S.(1974) หวายที่ศึกษามีจำนวน 25 ชนิด (species) อยู่ใน 6 สกุลคือ Calamus, Ceratolobus, Daemonorops, Korthalsia และ Plectocomia
เซลล์ผิวของหวายประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. Cuticle หรือ siliceous layer 2. cell wall 3. void หรือ lumen
ชั้น siliceous layer ไม่พบในหวายทุกชนิด บางชนิดของสกุล Calamus จะมี highly reflective body เกิดขึ้นที่ด้านนอกระหว่างรอยต่อของ เซลล์ผิว ผิวนอกของเซลล์ผิวของหวายในสกุล Korthalsia ไม่มี siliceous layer แต่มักจะมีส่วนของเซลล์ผิวของกาบหุ้มใบติดอยู่แน่นและผิวด้านนอกของเซลล์ผิวหยักคล้ายฟันเลื่อย
ความหนาของผนังด้านนอกของเซลล์ผิว สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ความหนาของผนังด้านนอกหนากว่าความสูงของ lumen และความหนาของผนังด้านนอกหนาน้อยกว่าความสูงของ limen lumen ของเซลล์ผิวของลำหวายจำแนกออกได้เป็น lumen ที่มีรูปร่างแบบรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปขอบขนาน (rectangular or oblong) รูปไข่ (ovate หรือ oval) รูปเสาแคบๆ (narrow column) รูปร่างไม่แน่นอน (irregular shape) และรูปไข่ เกิดเฉพา ะที่ฐาน ขนาดความสูงและความกว้างของเซลล์ผิว แบ่งออกได้เป็นเซลล์ผิวที่มีความกว้างมากกว่า ของความสูงที่มีความกว้างน้อยกว่า ของสูง และที่มีความกว้างน้อยกว่า 5 เท่าของความสูง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำหวาย พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับความสูง (H) ความกว้าง (W) และความหนาของผนังด้านนอกของเซลล์ผิว (T) โดยมีค่า correlation coefficiants ดังนี้ r(H) = 0.4082, r(W) = -0.1038 และ r(T) = 0.1058
ลักษณะต่างๆ ของเซลล์ผิวสามารถนำมาใช้ในการแยกชนิดลำหวายและใช้บ่งบอกคุณภาพของลำหวายได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังช่วยในการกำหนดชั้นคุณภาพของลำหวายได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”