การประทับตราเวลา : ความจำเป็นในการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ละครั้งมีโอกาสถูกฉ้อโกง เพราะขาดความน่าเชื่อถือของระบบโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ การออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และระบบวันและเวลาของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับระบบวันและเวลาของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นประเด็นสำคัญทางกฎหมายที่ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน โดยระบบวันและเวลาของระบบคอมพิวเตอร์ต้องได้มาตรฐานจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของคู่กรณี โดยเฉพาะประเทศที่มีความแตกต่างกันของระบบวันและเวลา เนื่องจากความเป็นจริงระบบวันและเวลาของระบบคอมพิวเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตทำให้เกิดการโต้แย้ง และนำไปสู่การเกิดข้อพิพาท จากการศึกษาพบว่าการสร้างระบบการให้บริการประทับตราเวลาเป็นเทคนิคของการเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและวิทยาการเข้ารหัสลับผนวกกับระบบวันและเวลามาตรฐานที่สามารถแก้ไขปัญหาระบบวันและเวลาของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการให้บริการของผู้ให้บริการประทับตราเวลา หรือเป็นเจ้าหน้าที่บนอินเทอร์เน็ตรับรองความถูกต้องของระบบวันและเวลา การยืนยันเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การยืนยันลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การยืนยันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการยืนยันคู่กรณี โดยถือว่าเป็นบุคคลที่สามที่สร้างความน่าเชื่อถือที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งสำคัญ คือ พยานหลักฐานดิจิทัลที่เกิดจากการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลาถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการยืนยันด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบ ประเด็นและข้อเสนอแนะทางกฎหมายเมื่อมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลาเป็นบทพิสูจน์ของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ขจัดปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ความสมบูรณ์ของสัญญาบนอินเทอร์เน็ต การป้องกันการฉ้อโกง และเป็นพยานหลักฐานที่ดี ทำให้การค้าระหว่างประเทศได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นการออกกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการประทับตราเวลายังเป็นประเด็นสำคัญในสังคมสารสนเทศ
คำสำคัญ : การประทับตราเวลา; ผู้ให้บริการประทับตราเวลา; วิทยาการเข้ารหัสลับ; ความมั่นคงปลอดภัย; พยานหลักฐานดิจิทัล
Abstract
Currently, electronic transactions has been enormously, and some of them may be electronic transactions is may be to fraud due to the lack of be reliable infrastructure system, i.e., public key infrastructure, e-certificate, electronic signature, law enforcement, and computer system. Times system in computer system for electronic transactions was problems point be important in laws must be consider suddenly. It was must be standard reliability resource and agreements for parties, specially the state have difference in it. In absolute times in computer system can changed for rely on persons, done in bad faith and case the arise from electronic transactions on a dispute. The main point of this research is offers on their services of implementation a time stamping services was chronology technique for used innovation of technology for manner used accuracy time system append cryptography problem-solving time system for electronic transactions. It was for service time stamping authority (TSA) or rotary public online was validate time system and authentication methods for electronic documents, electronic signature, electronic transactions or parties, so called trust third party (TTP) had security measures, and can logged electronic transactions, and important digital evidence time stamping from TSA innovation of technology was electronic authentication, parties non-repudiation. Legal issues and suggestions on an electronic transactions. The time stamp of the TSA as proof of electronic transactions, that eliminate exploitation and abuse, the validity of the contract on the Internet, prevention of frauded, and best evidence. The legislations of the TSA on the key issues in the information society.
Keywords: time Stamping; time stamping authority (TSA); cryptography; security; digital evidence
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ