การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของสีเยื่อหุ้มเมล็ดในข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 โดยการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ข้าวเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมล็ดข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 (PTT1) ถูกนำมาฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันซึ่งมี 137Cs เป็นต้นกำเนิดรังสีด้วยปริมาณ 220 gray อัตราการรอดชีวิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 อยู่ที่ 59.38 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีการตอบสนองต่อรังสีแกมมาต่ำเมื่อเทียบกับรายงานก่อนหน้าของพันธุ์อื่น ๆ หลังจากกะเทาะเปลือกเมล็ด M2 พบการกลายพันธุ์ 2 ลักษณะ ได้แก่ ข้าวเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง (สายพันธุ์ R684 และ R2535) และข้าวเมล็ดขุ่น (สายพันธุ์ L211) เมื่อตรวจสอบปริมาณอมิโลสของสายพันธุ์ R684, R2535 และ L211พบว่าในสายพันธุ์ L211 มีปริมาณอมิโลสต่ำลง แต่ทั้ง 3 สายพันธุ์ ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มปริมาณอมิโลสต่ำเช่นเดียวกับพันธุ์ปทุมธานี 1 ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 กับสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดเอสเอสอาร์จำนวน 20 ไพร์เมอร์ พบว่าสายพันธุ์ R684, R2535 และ L211 มีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม 85, 95 และ 75 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ปทุมธานี 1 ตามลำดับ ยืนยันว่าลักษณะที่ปรากฏเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา สายพันธุ์ใหม่ที่ได้จะถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อคุณภาพทางโภชนาการต่อไป
คำสำคัญ : การกลายพันธุ์; การฉายรังสีแกมมา; เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง; เมล็ดขุ่น
Abstract
Red pericarp rice has high nutritive content and health benefits. Seeds of Pathumthani 1 (PTT1) were subjected to gamma irradiation from 137Cs source using a dose of 220 gray. Survival rate of PTT1 was 59.38 % which indicated that PTT1 had low radio sensitivity to gamma radiation than previous report of other varieties. After husk removing of M2 seeds were found two types of mutation with red pericarp (line number R684 and R2535) and opaque endosperm (line number L211). Validating amylose content of R684, R2535 and L211 lines showed that amylose content of L211 line was decreased, whereas the three mutant lines should be classified into low amylose content groups which were the same as PTT1. The three mutant lines analyzed by 20 SSR markers, i.e. R684, R2535 and L211 lines, manifested 85, 95 and 75 percentages of genetic similarity to PTT1, respectively. This confirmed that these observed phenotypes were resulted from mutation by gamma irradiation. The obtained mutant lines will be used in breeding for nutritional quality improvement.
Keywords: mutation; gamma irradiation; red pericarp; opaque endosperm
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
ธนพร ฮัมดาหลี, ประภา ศรีพิจิตต์ และธานี ศรีวงศ์ชัย, 2560, ผลของรังสีแกมมาต่อความงอกของเมล็ด ความรอดชีวิตของต้นกล้า และความเป็นหมันของละอองเกสรตัวผู้ในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และ CH1, น.119-125, ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พีรนุช จอมพุก, 2553, เทคโนโลยีนิวเคลียร์กับการเกษตร, ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รอยพิมพ์ สุขเกษม, แสงทอง พงษ์เจริญกิจ, ศรีเมฆ ชาวโพงพาง, วราภรณ์ แสงทอง, ยุพเยาว์ คบพิมาย และช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์, 2558, การขาดหายของนิวคลีโอไทด์ 14 คู่เบส ในยีน Rc ทำให้เกิดการกลายพันธุ์แบบเฟรมชิฟท์ในข้าวขาวและดำ, น. 282-288. ใน การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19, มหาวิทยาลัยขอนแก่นและสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย, ขอนแก่น.
ราชกิจจานุเบกษา, 2556, ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 130 ตอนพิเศษที่ 58 ง, หน้า 26.
อรุณี วงศ์ปิยะสถิต, 2550, การกลายพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Benbouza, H., Jacquemin, J.M., Baudoin, J.P. and Mergeai, G., 2006. Optimization of a reliable, fast, cheap and sensitive silver staining method to detect SSR markers in polyacrylamide gels, Biotechnol. Agron. Soc. Environ. 10: 77-81.
Itani, T. and Ogawa, M., 2004, History and recent trends of red rice in Japan, Jap. J. Crop Sci. 73: 137-147.
Juliano, B.O., 1985, Criteria and Tests for Rice Grain Qualities, pp. 443-524, In Juliano, B.O. (Ed.), Rice Chemistry and Technology, The American Association of Cereal Chemists, St. Paul.
Steven, B., Wengui, Y., Aaron, J. and Christopher, D., 2008. A natural mutation in rc reverts white-rice-pericarp to red and results in a new, dominant, wild-type allele: Rc-g. Theor. Appl. Genet. 117: 575-580.