การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลินเดอเนียที่ระดับพลอยดีต่างกัน

Main Article Content

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
กมลทิพย์ สังข์แก้ว
นุชรัฐ บาลลา
ณัฐพงค์ จันจุฬา
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

Abstract

บทคัดย่อ


ลินเดอเนียเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศให้ความสนใจในการนำมาประดับตกแต่งเป็นไม้กระถาง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น แต่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของลินเดอเนียและลักษณะที่เป็นที่ต้องการของตลาดยังมีอยู่น้อย จำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดนี้หรือวงศ์ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้นำต้นพันธุ์ที่ได้รับสารละลายโคลชิซินที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ย้ายกล้าออกปลูกเพื่อศึกษาระดับพลอยดีต่าง ๆ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และลักษณะทางสรีรวิทยาของต้นลินเดอร์เนีย พบว่าต้นที่ระดับพลอยดีสูงขึ้นมีการเจริญเติบโตที่ช้าลง มีปริมาณดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น ใบและดอกของลินเดอเนียมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่มีลักษณะของข้อปล้องที่สั้นลง ละอองเรณูที่ระดับพลอยดี 2x, 4x และ 8x มีขนาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (20.86±0.97, 26.44±0.85 และ 30.88±1.09 ไมโครเมตร ตามลำดับ) และขนาดของเซลล์ปากใบมีขนาดใหญ่ขึ้นตามระดับพลอยดีที่เพิ่มขึ้น (21.55±1.35, 30.58±1.10 และ 41.97±1.22 ไมโครเมตร ตามลำดับ) แต่จำนวนเซลล์ปากใบต่อพื้นที่ลดลงเมื่อระดับพลอยดีสูงขึ้น (16.40±2.22, 9.80±1.32 และ 5.40±0.52 เซลล์ต่อตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ)


 คำสำคัญ : ลินเดอเนีย; โคลชิซินชนิดเม็ด; โพลิพลอยด์


 


Abstract


Lindernia sp., an ornamental plant, is popular in many countries particularly in Japan. However, the genetic variations and phenotypic patterns of Lindernia sp. were inadequate with the economic demands. Therefore, the induction of Lindernia sp. variations is important for further study and supply to flower trade. In this study, the treated Lindernia sp. plants with various concentrations of colchicine were transplanted to the field and, consequently, the ploidy level, plant anatomy, and plant morphology were investigated. The slow growth rates, and increases of leaf and flower sizes of the plants with higher ploidy levels were observed. The node lengths of diploid (2x), tetraploid (4x), and octaploid (8x) plants were 20.86±0.97, 26.44±0.85, 30.88±1.09 µm, respectively. The guard cell sizes of Lindernia sp. increased as observed in 2x (21.55±1.35), 4x (30.58±1.10), and 8x (41.97±1.22) µm, respectively. While the stomata density decreased when the ploidy level increased (16.40±2.22, 9.80±1.32, 5.40±0.52 cells/mm2, respectively).


Keywords: Lindernia; colchicine tablet; polyploid

Article Details

How to Cite
เตชะศีลพิทักษ์ ธ., สังข์แก้ว ก., บาลลา น., จันจุฬา ณ., & พิริยะภัทรกิจ อ. (2017). การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลินเดอเนียที่ระดับพลอยดีต่างกัน. Thai Journal of Science and Technology, 7(1), 21–31. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.20
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

กมลทิพย์ สังข์แก้ว

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

นุชรัฐ บาลลา

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ณัฐพงค์ จันจุฬา

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

References

กรมควบคุมมลพิษ, ม.ป.ป., Colchicines, ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์, แหล่งที่มา : http: //www.msds.pcd.go.th, 26 สิงหาคม 2559.
จิราภรณ์ จิรานภาพันธุ์, 2554, การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในแววมยุราพันธุ์ลูกผสม (Torenia fournieri × Torenia baillonii) และแววมยุราพันธุ์กลายดอกสีเหลืองด้วยการใช้สารโคลชิซินชนิดเม็ด, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นงนุช เอื้อวงศ์, ชลกรานต์ อวยจินดา, วิไลพร แซ่ลิ้ม, สุพรรณญิกา เส็งสาย และวิมล ขวัญเกื้อ, 2555, การศึกษาทางสัณฐานและเซลล์วิทยาของมะนาว (Citrus aurantifolia Swingle) พอลิพลอยด์ที่ถูกชักนำด้วยสารโคลชิซิน, ว.วิชาการเกษตร 30(3): 258-273.
เบญจมาศ ศิลาย้อย, 2545, โพลีพลอยด์, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สาขาชีววิทยา, แหล่งที่มา : http:// kroo.ipst.ac.th/biology/main.php?url=article_view&article_id=9, 25 สิงหาคม 2559.
ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์ และสาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์, 2557, ผลของโคลชิซินต่อการชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในกล้วยไม้เหลืองจันทบูรดำเต็มคอ, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 16(1): 61-68.
รัชนี เพ็ชร์ช้าง, 2553, ผลของความเข้มข้นและระยะเวลาการให้โคลชิซินต่อการเจริญและจำนวนโครโมโซมของกล้วยไม้เอื้องเงิน, ว. วิทย. เทคโน. มมส. 29(4): 413-419.
รัตนาภรณ์ เกิดเจริญ, 2555, การชักนำบัวดินให้กลายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อโดยใช้รังสีแกมมาและสารโคลชิซิน, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สสิรี บุญบงการ, 2556, การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในแววมยุราพื้นเมือง (Torenia fournieri) ด้วยการใช้สารโคลชิซินชนิดเม็ด, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สัณฐิตา ตังคจิวางกูร, 2552, การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในแววมยุราด้วยการใช้สายโคลชิซินชนิดเม็ด, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อรมา คัมภิรานนท์, 2546, พันธุศาสตร์ของเซลล์, พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Abdoli, M., Moieni, A. and Badi, H.N., 2013, Morphological, physiological, cytological and phytochemical studies in diploid and colchicines-induced tetraploid plants of Echinacea purpurea (L.), Acta Physiol. Plant 35: 2075-2083.
Addink, W., 2007, Colchicine: Used in plant breeding work to induced mutation (polyploidy), Available Source: http://www. geocities.com/RainForest/Vines/2259/colchicines.htm, August 20, 2016.
Ade, R. and Rai, M.K., 2010, Review: Colchicines, current advances and future prospects, Bioscience 2(2): 90-96.
Caperta, A.D., Delgado, M., Reaaurreicao, F., Meister, A., Jones, W.V. and Houben, A., 2006, Colchicine-induces polyploidization depends on tubulin polymerization in C-methaphase cells, Protoplasma 227(2-4): 147-153.
Gantait, S., Mandal, N., Bhattacharyya, S. and Das, P.K., 2011, Induction and identifica-tion of tetraploids using in vitro colchicines treatment of Gerbera jamesonii Bolus cv. Sciella, Plant Cell Tiss. Organ. Cult. 106: 485-493.
Lee, H.O., Davidson, J.M. and Duronio, R.J., 2009, Endoreplication: Polyploidy with purpose, Genes Develop. 23: 2461-2477.
Levin, D.A., 2002, The role of chromosomal change in plant evolution, Oxford University Press, New York.
Murashige, T. and Skoog, F., 1962, Revised medium for rapid growth and bio assays with tobacco tissue cultures, Physiologia Plantarum 15: 473-497.
Roy, D., 2009, Cytogenetic, Alpha Science International Ltd., U.K.
Segui-Simarro, J.M. and Nuez, F., 2008, Pathways to doubled haploidy: Chromosome doubling during androgenesis, Cytogenet. Plant Breed. 120: 358-369.
Shinha, A.R.P., 1987, Colchiploidy in Lindernia crustacea (L.) F. Muell., Cytologia 52: 151-155.
Smitinand, T., 1990, Flora of Thailand, Volume Five Part Two, The Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok.
Utrilla, L., Sans, J. and Torre, C.D.L., 1989, Colchicine-resistant assembly of tubulin in plant mitosis, Protoplasma 152: 101-108.
Yemets, A.I. and Blume, Y.B., 2008, Progress in plant polyploidization based on antimicrotubular drugs, Open Hort. J. 1: 15-20.