การเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ในเหง้าขมิ้นอ้อยภายหลังการเก็บเกี่ยวที่อยู่ภายใต้หลอด LED สีต่างๆ

Main Article Content

กษิดิ์เดช อ่อนศรี
เบญญา มะโนชัย
ปริยานุช จุลกะ
พิทักษ์ พานทอง
ณัฐพงค์ จันจุฬา

Abstract

บทคัดย่อ


การใช้หลอดไดโอดเปล่งแสงสีขาว (WL) สีแดง (RL) สีน้ำเงิน (BL) และสีผสมระหว่างแดงกับน้ำเงิน สัดส่วนหลอด 1 : 5 (RB) เปิดเสริมเพื่อกระตุ้นการผลิตสารออกฤทธิ์ในเหง้าขมิ้นอ้อยภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยให้ 3 ชั่วโมงก่อนเวลา 06 : 00 น. และ 3 ชั่วโมงหลังเวลา 18:00 น. เปรียบเทียบกับการเก็บรักษาในสภาพห้องที่ได้รับแสงปกติ (NL) วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลน้ำหนักสดที่อายุการเก็บรักษา 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ นำไปวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (AOA) ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (PC) สารบิสเดสเมทอกซีเคอร์คูมิน (BMC) สารดีเมทอกซีเคอร์คูมิน (DMC) และสารเคอร์คูมิน (CUR) ทำการทดลอง ณ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการทดลองพบว่าขมิ้นอ้อยภายหลังการเก็บรักษามีน้ำหนักเหง้าลดลงแปรผันตามอายุการเก็บรักษา แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น การให้แสง LED สีต่าง ๆ เสริมให้แก่เหง้าขมิ้นอ้อย สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนักเหง้า เพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสารออกฤทธิ์ โดยการให้แสง WL และ RB นาน 6 สัปดาห์ ส่งเสริม AOA และปริมาณสารออกฤทธิ์ ได้แก่ PC, BMC, DMC และ CUR เพิ่มขึ้น


 คำสำคัญ : เคอร์คูมินอยด์; แกลลิก; ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ; แอลอีดี; ขมิ้นเจดีย์


 


Abstract


The supplemental lighting LEDS i.e. white light (WL), red light (RL), blue light (BL) and the combination of red and blue LEDs at ratio 1 : 5 (RB) for increasing active compounds in Zedoary rhizome after harvest were studied. The plant was stored at room temperature and subjected to natural daylight (NL), +3 h supplemental lights before 06 : 00 am and after 6 : 00 pm RCBD with 5 treatments and 4 replications was used as experimental design. The response of zedoary rhizome was monitored. Fresh weight and active compounds i.e. antioxidant activity (AOA), total phenolic compound (TP), bis-demethoxycurcumin (BMC), demethoxycurcumin (DMC) and curcumin content (CUR), were measured every week (6 weeks). The experiment was carried out at the Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University during March to December 2016. The result revealed that supplemental LEDs especially WL and RB can delay rhizome weight loss, promote AOA and active compounds (PC, BMC, DMC, and CUR) in zedoary rhizome.


 Keywords: curcuminoid; gallic; antioxidant activity; LED; Kamin Jaedee

Article Details

How to Cite
อ่อนศรี ก., มะโนชัย เ., จุลกะ ป., พานทอง พ., & จันจุฬา ณ. (2017). การเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ในเหง้าขมิ้นอ้อยภายหลังการเก็บเกี่ยวที่อยู่ภายใต้หลอด LED สีต่างๆ. Thai Journal of Science and Technology, 7(1), 32–47. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.21
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

กษิดิ์เดช อ่อนศรี

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

เบญญา มะโนชัย

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ปริยานุช จุลกะ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

พิทักษ์ พานทอง

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ณัฐพงค์ จันจุฬา

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180

References

กิจจา ฤดีขจร, 2551, 1,001 ตำรับยาใกล้ตัว รักษาโรคด้วยตนเอง, พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์ รีด ดอร์ส ไดเจสท์, กรุงเทพฯ.
จำรัส เซ็นนิล, 2547, รอดตายด้วยสมุนไพรจากประสบการณ์จริง, สำนักพิมพ์มรดกสยาม, นนทบุรี.
จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น, จิรนาฏ วีรชัยพิเชษฐ์กุล, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์ และอภิสิทธิ์ ประสงค์สุข, 2550, อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี, สำนักพิมพ์แม่บ้าน, กรุงเทพฯ.
ดรุณ เพ็ชรพลาย, จารีย์ บันสิทธิ์, ณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์, ประถม ทองศรีรักษ์ และชาตรี ชาญประเสริฐ, 2533, สมุนไพรพื้นบ้านฉบับรวม, พิมพ์ครั้งที่ 1, กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กระทรงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.
บรรจบ กำจัด, 2557, ประโยชน์มหัศจรรย์ : ขมิ้น, สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ, กรุงเทพฯ.
ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์, 2550, LED แสงสว่างแห่งอนาคต, ว.ส่งเสริมการลงทุน 18(11): 27-33.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2542, พจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์รวมสาส์น, กรุงเทพฯ.
วิทยา บุญวรพัฒน์, 2554, สารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์, 2544, สรีรวิทยาของพืช, พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุทธิกรณ์ ฤทธิ์บวรรักษา, 2550, มหัศจรรย์สมุนไพรไทย, สำนักพิมพ์ไพลินบุ๊คเน็ต, กรุงเทพฯ.
Arnason, J.T., Mata, R. and Romeo, J.T., 1995, Phytochemistry of Medicinal Plants, Springer-Verlag New York Inc, New York.
Buchholz, G., Ehmann, B. and Wellmann, E., 1995, Ultraviolet light inhibition of phytochrome-induced flavonoid biosynthesis and DNA photolyase formation in mustard cotyledons (Sinapis alba L.), Plant Physiol. 108: 227-234.
Gao, X., Maria, O., Niklas, J., Lars, B. and Viktor, T., 2000, Changes in antioxidant effects and their relationship to phytonutrients in fruits of sea buckthorn (Hippophae rhamnoides L.) during maturation, J. Agric. Food Chem. 48: 1485-1490.
Ingkasupart, P., Benya, M., Woo, T.S. and Jeong, H.H., 2015, Antioxidant activities and lutein content of 11 marigold cultivars (Tagetes spp.) grown in Thailand, Food Science and Technology (Campinas) 35(2): 380-385.
Jana, L.S.C., Otakar, S., Mamyil, S. and Karol, M., 2008, Taxonomic and nomenclatural puzzles in Indian Curcuma: the identity and nomenclatural history of C. zedoaria (Christm.) Roscoe and C. zerumbet Roxb. (Zingiberaceae), Taxon 57: 949-962.
Kondo, S., Tomiyama, H., Rodyoung, A., Okawa, K., Ohara, H., Sugaya, S., Terahara, N. and Hirai, N., 2014, Abscisic acid metabolism and anthocyanin synthesis in grape skin are affected by light emitting diode (LED) irradiation at night, J. Plant Physiol. 171: 823-829.
Möglich, A., Yang, X., Ayers, R.A. and Moffat, K., 2010, Structure and function of plant photoreceptors, Annu. Rev. Plant Biol. 61: 21-47.
Park, S., Ahn, D., Jeon, H., Kwon, T. and Lim, H., 2012a, Increase in contents of ginsengnosides in raw ginseng root in response to exposure to 450 and 470 nm light from light-emitting diode, J. Ginseng Res. 36: 198-204.
Park, Y., Park, J., Hwang, S. and Jeong, B., 2012b, Light source and CO2 concentration affect growth and anthocyanin content of lettuce under controlled environment, Hort.
Environ. Biotechnol. 53: 460-466.
Paz, M.D.P., Kuehny, J.S., McClure, G. and Criley, R., 2003, Effects of rhizome storage time and temperature on growth and carbohydrate content of ornamental ginger, Acta Hort. 673: 737-744.
Pei-Yin, Z., Xue-Hua, Z., He-Ming, Z. and Hai-Hang, L., 2011, High-efficient column chro-matographic extraction of curcumin from Curcuma longa, Food Chem. 129: 700-703.
Pothitirat, W. and W. Gritsanapan, 2005, Quantitative Analysis of curcumin, demethoxycurcumin and bisdemethoxycurcumin in the crude curcuminoid extract from Curcuma longa in Thailand by TLC densitometry, Mahidol Univ. J. Pharm. Sci. 32(1/2): 23-30.
Seo, J.M., Arasu, M.V., Kim, Y.B., Park, S.U. and Kim, S.J., 2015, Phenylalanine and LED lights enhance phenolic compound production in Tartary buckwheat sprouts, Food Chem. 177: 204-213.
Subhadhirasakul, S., Wongvarodom, S. and Ovatlarnporn, C., 2007, The content of active constituents of stored sliced and powdered preparations of turmeric rhizomes and zedoary (bulb and finger) rhizomes, Songklanakarin J. Sci. Technol. 29: 1527-1536.
Terashima, I., Fujita, T., Inoue, T., Chow, W.S. and Oguchi, R., 2009, Green light drives leaf photosynthesis more efficiently than red light in strong white light: Revisiting the enigmatic question of why leaves are green, Plant Cell Physiol. 50: 684-697.
Titova, M.V., Berkovich, E.A., Reshetnyak, O.V., Kulichenkoa, I.E., Oreshnikova, A.V. and Nosov, A.M., 2011, Respiration activity of suspension cell culture of Polyscias filicifolia Bailey, Stephania glabra (Roxb.) Miers, and Dioscorea deltoidea Wall, Biochem. Microbiol. 47: 87-92.
Zauba, 2013, Analysis of Export of Curcuma Zedoary, Available Source: https://www. zauba.com/exportanalysis-curcuma+zedoary-report.html, March 24, 2017.