การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในบานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลายโดยการฉายรังสีแกมมา

Main Article Content

ศรัญญู ถนิมลักษณ์
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
พัฒนา สุขประเสริฐ
พีรนุช จอมพุก
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

Abstract

บานไม่รู้โรยเป็นไม้ดอกที่ออกดอกตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันยังไม่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้กระถาง เนื่องจากต้นที่มีลักษณะสูงเก้งก้างและสีดอกไม่มีความหลากหลาย จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพันธุ์โดยการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการกลาย ที่ปริมาณรังสี 0, 20, 40, 60, 80 และ100 เกรย์ (อัตรารังสี 3.74 เกรย์ต่อนาที) กับกิ่งชำของบานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลาย พบว่าที่ 90 วัน หลังจากฉายรังสี เมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลง และหาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่ทำให้บานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลายรอดชีวิตที่ 50 เปอร์เซ็นต์ [LD50(90)] มีค่า 71 เกรย์ ส่วนผลของปริมาณรังสีต่อการเจริญเติบโต ประกอบด้วย ความสูง ขนาดทรงพุ่ม และความยาวปล้องของต้นรุ่น M1V1 พบว่า เมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นมีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง และพบการเปลี่ยนแปลงสีดอก จากสีชมพูอมม่วงกลายเป็นสีขาวอมชมพู ที่ปริมาณรังสี 20, 40, 60 และ100 เกรย์ และเมื่อฉายรังสีที่ปริมาณรังสีในช่วง LD30-LD50 (40-70 เกรย์) พบการเปลี่ยนแปลงของสีดอกและลักษณะใบด่างเกิดขึ้น


คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช; การฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน; บานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลาย; การปักชำ


 


Abstract


Gomphrena is a flowering plant with flowers blooming all year round. However, it is not popular for using as potted plants yet because of its overgrowth and lack of flower color variation. The purpose of this research was to use mutation breeding to create greater diversity in gomphrena hybrid mutant. The cutting of gomphrena was irradiated with acute gamma ray at 0, 20, 40, 60, 80 and 100 Gy (dose rate 3.74 Gy/min). The results revealed that an increasing of radiations, the percentage of survival was decreased at 90 days after irradiation. Moreover, fifty percentage of lethal dose at 90 days after irradiation [LD50(90)] was 71 Gy. In M1V1 generation, the reduction of growth such as plant height, canopy width and internode length, was significantly remarked by radiation dose increase. The gomphrena hybrid mutant with purple-pink bracts was changed to purple-white at the doses of 40, 50, 60 and 70 Gy. When irradiation ranged from LD30-LD50 (40-70 Gy), the color changes of bracts and leaves variegation were observed.


Keywords: mutation breeding; acute gamma irradiation; gomphrena hybrid; vegetative propagation

Article Details

How to Cite
ถนิมลักษณ์ ศ., เตชะศีลพิทักษ์ ธ., สุขประเสริฐ พ., จอมพุก พ., & พิริยะภัทรกิจ อ. (2017). การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในบานไม่รู้โรยลูกผสมพันธุ์กลายโดยการฉายรังสีแกมมา. Thai Journal of Science and Technology, 7(1), 48–57. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.6
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

ศรัญญู ถนิมลักษณ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

พัฒนา สุขประเสริฐ

ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

พีรนุช จอมพุก

ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

References

เต็ม มิตินันทน์, 2557, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย, สำนักงานหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
ปิยธิดา แร่ทอง, 2556, การใช้รังสีแกมมาชักนาให้เกิดการกลายพันธุ์ในบานไม่รู้โรยลูกผสมข้ามชนิด, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พรรณี ศรีสวัสดิ์, 2543, การศึกษาอิทธิพลของรังสีแกมมาต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเจริญ เติบโตของพิทูเนียพันธุ์ Pearl Wave, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ภัทรมาศ พานพุ่ม, 2548, การฉายรังสีแกมมาเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพิทูเนียใบด่างที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิชชุตา รุ่งเรือง, 2537, ผลของโคลชิซินและรังสีแกมมาที่มีต่อการกลายพันธุ์ของหน้าวัวพันธุ์ “Double Spathe” ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุธนา เกตุมาโร, 2549, ผลของการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อการกลายพันธุ์ของบานชื่นเลื้อย, ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุมนา กิจไพฑูรย์, 2528, การกลายพันธุ์ของบีโกเนียโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการฉายรังสีแกมมา, ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Guiyun, D., Weidong, P. and Gongshe, L., 2006, The analysis of proteome changes in sunflower seeds induced by N+ implantation, J. Biosci. 31: 247-253.
Lamseejan, S., Jompuk, P., Wongpiyasatid, A., Deeseepan, S. and Kwanthamachart, P., 2000, Gamma-rays induced morphological changes in chrysanthemum, (Chrysanthemum morifolium), Kasetsart J. (Nat Sci.) 34: 417-422.
Mandel, A.K.A., Chakrabarty, D. and Datta, S.K., 2000, Application of in vitro techniques in mutation breeding of chrysanthemum, PCTOC 60: 33-38.
Mokobia, C.E. and Anomohanran, O., 2005, The effect of gamma irradiation on the germination and growth of certain Nigerian agricultural crops, J. Radiol. Prot. 25: 181-188.
Shigematsu, K. and Matsubara, H., 1972, The isolation and propagation of the mutant plant from a sectional chimaera induced by irradiation in Begonia rex, J. Jap. Soc. Hort. Sci. 41: 196-200.
Singh, K.P., Singh, B., Raghava, S.P.S., Misra, R.L. and Kalia, C.S., 1999, In vitro induction of mutation in carnation through gamma irradiation, Ornamental Hort. 2: 107-110.
Wu, L. and Yu, Z., 2001, Radiobiological effect of a low-energy ion beam on wheat, Radiat. Environ. Biophys. 40: 53-57.
Yamagushi, H., Nagatomi, S., Morishita, T., Degi, K., Tanaka, A., Shikazono, N. and Hase, Y., 2003, Mutation induced with ion beam irradiation in rose, Nucl. Instrum. Mehods Phys. Res. Sect. B 206: 561-564.