การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกในการศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

รวมพร สิทธิมงคล
มธุริน นิลมงคล
ศรัณญา การะเกษ
ศุภัทรชา ราษฎร์ดุษดี

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุก ความน่าจะเป็น และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์และการตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ของนักศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าการตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกออนไลน์ และการกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์เช่นกัน โดยความชุกของการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์และความชุกของการตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มีค่า 70.7 และ 67.0 % ตามลำดับ ความน่าจะเป็นที่นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติจะกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกออนไลน์ เมื่อกำหนดว่าเคยตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์มีค่า 0.86 และความน่าจะเป็นที่นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติจะตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ เมื่อกำหนดว่าเคยกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกออนไลน์มีค่า 0.82 


คำสำคัญ : การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์; การตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Abstract


The objectives of this research are to find the prevalence, the probability of cyberbullying and cybervictimization and to study the factors those are related to cyberbullying and cybervictimization among students in the Department of Mathematics and Statistics, Thammasat University. The results found that cybervictimization has an influence on cyberbullying and cyberbullying has an influence on cybervictimization as well. The prevalences of cyberbullying and cybervictimization among students in the Department of Mathematics and Statistics were 70.7 and 67.0 %, respectively. In addition, the probability that students will cyberbully others if they have ever been a cybervictim, is 0.86. And the probability that students will be a cybervictim if they have committed cyberbullying is 0.82. 


Keywords: cyberbullying; cybervictimization; Thammasat University

Article Details

How to Cite
สิทธิมงคล ร., นิลมงคล ม., การะเกษ ศ., & ราษฎร์ดุษดี ศ. (2017). การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกในการศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Thai Journal of Science and Technology, 7(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.10
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ
Author Biographies

รวมพร สิทธิมงคล

สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

มธุริน นิลมงคล

สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ศรัณญา การะเกษ

สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ศุภัทรชา ราษฎร์ดุษดี

สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

กัลยา วานิชย์บัญชา, 2550, การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร, สำนักพิมพ์ธรรมสาร, กรุงเทพฯ.
วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, 2552, พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยเขตกรุงเทพมหานคร, ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์, 2558, สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนในโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, ว.การสื่อสารและการจัดการ นิด้า 1(2): 128-144.
อมรทิพย์ อมราภิบาล, 2559, เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน : ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม, ว.วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 14(1): 59-73.
Udris, R., 2015, Cyberbullying in Japan: An exploratory study, Int. J. Cyber Soc. Edu. 8: 59-80.