ผลของชนิดและอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่น
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของชนิดและอัตราปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่น (Dendrocalamus sericeus) ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 เป็นเวลา 6 เดือน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่นที่มีอายุ 1 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 7 ทรีตเมนต์ ประกอบด้วยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี (ควบคุม) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 16-16-16 ในอัตรา 10, 15 และ 20 กรัม/กระถาง/ครั้ง ตามลำดับ แต่ละทรีตเมนต์มี 4 ซ้ำ ซ้ำละ 2 กระถาง ผลการศึกษาพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ในอัตรา 15 กรัม/กระถาง/ครั้ง ให้มวลชีวภาพของลำต้นไผ่ซางหม่นสูงที่สุด การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ในอัตรา 20 กรัม/กระถาง/ครั้ง ส่งผลให้มีจำนวนหน่อใหม่สูงสุด และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ในอัตรา 15 กรัม/กระถาง/ครั้ง ส่งผลให้มีความสูงของลำต้นสูงที่สุด ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ16-16-16 ร่วมกันส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่นดีที่สุด
คำสำคัญ : ไผ่ซางหม่น; ปุ๋ยเคมี; การเจริญเติบโต; จำนวนหน่อใหม่; มวลชีวภาพ
Abstract
Study on the effects of formula and rates of chemical fertilizer on growth of bamboo (Dendrocalamus sericeus) was conducted at the Department of Agricultural Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University, Pathum Thani province during October, 2016 to March, 2017. The trial was arranged in a Completely Randomized Design (CRD) with 4 replications, 2 pots in each replication. 7 Treatments included no fertilizer application (control), and applying with 46-0-0 fertilizer or 16-16-16 fertilizer at the rates of 10, 15 and 20 g/pot/time. The results indicated that the 46-0-0 fertilizer applying at 15 g/pot/time gave the highest bamboo biomass. The application of 46-0-0 fertilizer at 20 g/pot/time exhibited the highest number of new culm. The application of 16-16-16 fertilizer at 15 g/pot/time gave the highest of bamboo culm height. Therefore, the most appropriate application for growth of bamboo was suggested to be a combination of 46-0-0 and 16-16-16 fertilizers.
Keywords: Dendrocalamus sericeus; Chemical fertilizer; growth of bamboo; shoots emerging; biomass
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
กรมพัฒนาที่ดิน, 2553, คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี, กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ, 51 น.
กษิดิศ พร้อมเพราะ, 2558, ผลของปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่นที่เกิดจากเมล็ด, ปัญหาพิเศษ, ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
กฤษณ หอมคง, 2557, ระบบการตลาดไผ่และแนวโน้มในประเทศไทย, น. 36-39, ใน ระวี ถาวร และรัตนติกา เพชรทองมา (บรรณาธิการ), ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : องค์ความรู้ และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น, บริษัท ดูมายเบส จำกัด, กรุงเทพฯ.
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, 2556, การเลือกพันธุ์ไผ่ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์, น. 1-43, การประชุมแลกเปลี่ยน “ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย 2”, ชมรมคนรักไผ่ ร่วมกับ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี.
นาฏสุดา ภูมิจำนง, 2549, ปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินในรากและคาร์บอนในดินของสวนป่าไม้สัก, Environ. Nat. Res. J., 5: 109-121.
นันทรัตน์ ศุภกำเนิด, 2558, การจัดการดินและปุ๋ยสำหรับพืชสวน, สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ, 82 น.
ปรัชญา ยังพัฒนา และระวี ถาวร, 2557, ความหลากหลายชนิดและการใช้ประโยชน์ไผ่ในประเทศไทย, น. 10-18, ใน ระวี ถาวร และรัตนติกา เพชรทองมา (บรรณาธิการ), ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : องค์ความรู้และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น, บริษัท ดูมายเบส จำกัด, กรุงเทพฯ.
ยงยทุธ โอสถสภา, 2543, ธาตุอาหารพืช, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร, 2551, ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศิริกัลยา สุวจิตานนท์, 2551, สวนรวบรวมพันธุ์ไผ่, แหล่งที่มา : http://www.ku.ac.th/e-magazine/dec51/agri/agri2.htm, 5 พฤศจิกายน 2559.
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน, ชาคริต จุลกะเสวี และณัฐ จามรมาน, 2540, ดินและปุ๋ย, พิมพ์ครั้งที่ 2, มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 16 น.
สายสวาทดิ์ สงวนใจ, มปป., ไผ่ซางหม่นอนาคตและความหวังของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอป่าซาง (เขตปฏิรูปที่ดิน), สำนักงานการเกษตรอำเภอป่าซาง, ลำพูน, 6 น.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2559, การอบรมการวิเคราะห์และปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร, วัดศรีบุญเรือน, นครพนม, 50 น.
สะอาด บุญเกิด, 2528, ไม้ไผ่บางชนิดในประเทศไทย, กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 198 น.
Piouceau, J., Bois, C., Panfili, F., Anastase, M., Dufossé, L. and Arfi, V., 2013, Effect of high nutrient supply on the growth of seven bamboo species, Int. J. Phytoremed. 16: 1042-1057.
Guo, X., Lu, S., Niu, D., Zhang, G., Chen, F. and Luo, Z., 2010, Effects of balanced fertilization on bamboo’s quality, pp. 44-45, 19th World Congress of Soil Science: Soil Solutions for a Changing World, Brisbane.