อิทธิพลของปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของไผ่มันหมู

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
พิชชาทร ไมตรีมิตร
พรชัย หาระโคตร

Abstract

บทคัดย่อ


ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีต่ออัตราการเจริญเติบโตของไผ่มันหมู [Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis)] ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2560 โดยเปรียบเทียบระหว่างไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ปริมาณ 5, 10 และ15 กรัม/กระถาง/ครั้ง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ปริมาณ 5, 10 และ15 กรัม/กระถาง/ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 3 กระถาง บันทึกจำนวนหน่อเกิดใหม่ ความสูง และเส้นผ่านศูนย์กลาง เมื่อสิ้นสุดการทดลองนำไปวิเคราะห์ปริมาณมวลชีวภาพเหนือดิน ผลการศึกษาพบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแต่ละสูตรปุ๋ยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ปริมาณ 15 กรัม/กระถาง/ครั้ง ส่งผลให้ไผ่มันหมูมีจำนวนหน่อเกิดใหม่มากที่สุด คือ 4.83 หน่อ/กระถาง การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ส่งผลให้ไผ่มันหมูมีการเพิ่มความสูงมากที่สุด สามารถเพิ่มความสูงให้ไผ่มันหมูได้ 40.74, 31.73, 30.74 เซนติเมตร/เดือน และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ปริมาณ 15 กรัม/กระถาง/ครั้ง และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ส่งผลให้ไผ่มันหมูมีปริมาณมวลชีวภาพเหนือดินของใบและลำต้นสูงที่สุด ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ปริมาณ 15 กรัม/กระถาง/ครั้ง มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไผ่มันหมูที่อายุไม่เกิน 2 ปี 


คำสำคัญ : ไผ่มันหมู; ปุ๋ยเคมี; การเจริญเติบโต


 


Abstract


Study on the effects of formula and rates of chemical fertilizer on growth of bamboo (Dendrocalamus sericeus) was conducted at the Department of Agricultural Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University, Pathum Thani province during October, 2016 to March, 2017. The trial was arranged in a completely randomized design (CRD) with 4 replications, 2 pots in each replication. 7 Treatments included no fertilizer applying (control), and applying with 46-0-0 fertilizer or 16-16-16 fertilizer at the rates of 10, 15 and 20 g/pot/time. The results indicated that the 46-0-0 fertilizer applying at 15 g/pot/time gave the highest bamboo biomass. The application of 46-0-0 fertilizer at 20 g/pot/time exhibited the highest number of new culm. The application of 16-16-16 fertilizer at 15 g/pot/time gave the highest of bamboo culm height. Therefore, the most appropriate application for a growth of the bamboo was shown to be combined of 46-0-0 and 16-16-16 fertilizers. 


Keywords: Pai Mun Moo; chemical fertilizer; growth of bamboo

Article Details

How to Cite
พวงจิก ธ., ไมตรีมิตร พ., & หาระโคตร พ. (2017). อิทธิพลของปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของไผ่มันหมู. Thai Journal of Science and Technology, 7(2), 123–133. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.29
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

พิชชาทร ไมตรีมิตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

พรชัย หาระโคตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

กองวิเคราะห์ดิน, 2540, คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีดินกับการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ, กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ, 59 น.
การประปานครหลวง, 2557, การนำไฟฟ้า (Conductivity) คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร, แหล่งที่มา : https://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=13321, 4 มิถุนายน 2560.
ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์, มปป, เครื่องวัดพีเอช, แหล่งที่มา : https://home.kku.ac.th/chuare/12/pHmeter.pdf, 4 มิถุนายน 2560.
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, กษิดิศ พร้อมเพราะ และพรชัย หาระโคตร, 2559, ผลของปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของไผ่ซางหม่นที่เกิดจากเมล็ด, Thai J. Sci. Technol. 5: 246-255.
นาฏสุดา ภูมิจำนง, 2550, ปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินในรากและคาร์บอนในดินของสวนป่าไม้สัก, Environ. Nat. Resour. J. 5: 109-121.
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, 2556, หลักการใช้ปุ๋ยในไผ่, น. 48-50, การประชุมแลกเปลี่ยน “ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย 2”, ชมรมคนรักไผ่ ร่วมกับ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี.
ไพรวรรณ เล็กอุทัย, มยุรี จิตต์แก้ว และอรุณี วีนิน, 2547, การป้องกันรักษาไม้ไผ่, หจก. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ, 39 น.
วีระพงศ์ โคระวัตร และดวงใจ ศุขเฉลิม, 2551, การศึกษาอนุกรมวิธานของไผ่ (วงศ์ Poaceae) สกุลไผ่ป่า (Bambusa Schreber) สกุลไผ่ตง (Dendrocalamus Nees) และสกุลไผ่ไร่ (Gigantochloa Kurz) ในผืนป่าตะวันตก , น. 185-196, ใน วิสุทธิ์ ใบไม้ และรังสิมา ตัณฑเลขา, รายงานการวิจัยโครงการ BRT 2550, โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน, เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์, 2551, ข้อเท็จจริงการใช้สารเคมีกับการพัฒนาเกษตรไทย ฉบับที่ 2, พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัท 168 พริ้นท์ติ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ, 112 น.
สุทัศน์ เดชวิสิทธิ์, 2537, ไม้ไผ่สำหรับคนรักไผ่, พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์อโกรคอมมิวนิคก้า, กรุงเทพฯ, 200 น.
Fageria, F.K., 2009, The use of nutrients in crop plants, CRC Press, Boca Raton, F.L., 430 p.
Guo, X., Lu, S., Niu, D., Zhang, G., Chen, F. and Luo, Z., 2010, Effect of balance fertilization on bamboo’s quality, World Congress of Soil Science, pp. 44-45, 19th Soil Solutions for a Changing World, Brisbane.
Ohrnberger, D., 1999, The Bamboos of the World, Elsevier Science B.V., Amsterdam.
Piouceau, J., Bois, G., Panfili, F., Anastase, M., Dufosse, L. and Arfi, V., 2014, Effect of high nutrient supply on the growth of seven bamboo species, Int. J. Phytoremed. 16: 1042-1057.
Qiou, F. and Fu, M., 1985, Fertiliser Application and Growth of Phyllostachys pubescens, pp. 114-120, In Rao, A.N., Dhanarajan, G. and Sastry, C.B. (Eds.), Recent Research on Bamboos, International Bamboo Workshop, Hangzhou.
Wild, A. and Jones, L.H.P., 1988, Mineral Nutrition of Crop plants, pp. 69-112, In Wild, A. (Ed.), Russell's Soil Conditions & Plant Growth, Longman Scientific & Technical, England.
Wilkinson, S.R., Grunes, D.L. and Sumner, M.E., 2000, Nutrient Interactions in Soil and Plant Nutrition, pp. 89-112, In Sumner, M.E. (Ed.), Handbook of Soil Science, CRC Press, Boca Raton, F.L.
Li, R., Werger, M.J.A., de Kroon, H., During, H.J. and Zhong, Z.C., 2000, Interactions between shoot age structure, nutrient availability and physiological integration in the giant bamboo Phyllostachys pubescens, Plant Biol. 2: 437-446.