พรรณไม้ลูกผสมข้ามชนิด (มะป่วน x มหาพรหมราชินี) สกุล Mitrephora วงศ์กระดังงา

Main Article Content

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ปิยะ เฉลิมกลิ่น
กนกอร อัมพรายน์
ณัฐพงค์ จันจุฬา
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

Abstract

บทคัดย่อ


ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพัฒนาการของดอกพรรณไม้ลูกผสม (มะป่วน x มหาพรหมราชินี) โดยใช้มะป่วนเป็นแม่พันธุ์และมหาพรหมราชินีเป็นพ่อพันธุ์ ซึ่งอยู่ในสกุลมหาพรหม วงศ์กระดังงา ทดลองและปลูกเลี้ยงที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ปี พ.ศ. 2557-2560 พบว่าเมล็ดของลูกผสมมีอัตราการงอกต่ำ ระยะเวลางอกเฉลี่ย 3 เดือน ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับมะป่วน และสามารถจะเจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดจัด ลักษณะโครงสร้างใบและเส้นใบเป็นร่างแหชัดเจนสีเขียวเข้มเหมือนมะป่วน แต่ใบมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับมหาพรหมราชินี หลังจากเมล็ดลูกผสมงอกลำต้นมีการเจริญเติบโตดี และออกดอกในปีที่ 3 ดอกมีขนาดใหญ่กว่ามะป่วน ลักษณะโครงสร้างดอกเหมือนกับมหาพรหมราชินี เมื่อแรกบานกลีบดอกชั้นนอกสีขาว มีเส้นลายม่วงตามยาว กลีบดอกชั้นในสีม่วงเข้ม เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกชั้นนอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนลายม่วง ดอกมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตั้งแต่ทรงพุ่มขนาดเล็ก 


คำสำคัญ : มะป่วน; มหาพรหมราชินี; พืชลูกผสมข้ามชนิด


 


Abstract


The morphology and flowering development of the hybrid plants (Mitrephora tomentosa x Mitrephora sirikitiae) were studied at Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR), Pathum Thani province since 2014-2017. Results showed that hybrid plants had the lowest germination rate within 3 months. The characters of hybrids were large shrubs and able to grow well under full sunlight. Its leaves were dark green with dominant reticular veins as M. tomentosa but leaves were large and similar to M. sirikitae. The hybrid plants grown for 3 years could flower with the sizes similar to those of M. tomentosa. Flower structure of the hybrids was the same as that of M. siritiae which its outer petals were white with violet line, and the inner petal lines were purple. During the full bloom, the hybrid flowers were fragrant with yellow and violet lines. Development of flower began from small shrub. 


Keywords: Mitrephora; M. tomentosa; M. sirikitiae; interspecific hybrid plant

Article Details

How to Cite
พิริยะภัทรกิจ อ., เฉลิมกลิ่น ป., อัมพรายน์ ก., จันจุฬา ณ., & เตชะศีลพิทักษ์ ธ. (2018). พรรณไม้ลูกผสมข้ามชนิด (มะป่วน x มหาพรหมราชินี) สกุล Mitrephora วงศ์กระดังงา. Thai Journal of Science and Technology, 7(3), 223–230. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.27
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

ปิยะ เฉลิมกลิ่น

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

กนกอร อัมพรายน์

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

ณัฐพงค์ จันจุฬา

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

ปิยะ เฉลิมกลิ่น, 2554, 100 ชนิด พรรณไม้วงศ์กระดังงาแสนสวย, ห้างหุ้นส่วนจำกัด วุฒิพันธ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ปิยะ เฉลิมกลิ่น, 2549, มหาพรหมราชินี พรรณไม้พระราชทานนาม, ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์พินิจ การพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ปิยะ เฉลิมกลิ่น, จิรพันธ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ, 2551, พรรณไม้ที่พบครั้งแรกของโลกในเมืองไทย, โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ.
วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และผาณิต ไทยเจริญ, 2514, การศึกษาทางชีววิทยาของดอกและพัฒนา การของผลน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย, น. 717-729, รายงานการประชุมวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมพร คำชมพู, 2547, การศึกษาทางอนุกรมวิธานของพรรณไม้วงศ์กระดังงาในป่าตะวันตกของประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหา วิทยาลัยศิลปกร, นครปฐม.
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ, ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์, ปิยะเฉลิมกลิ่น และธานี ศรีวงศ์ชัย, 2557, พรรณไม้ลูกผสมข้ามชนิดในสกุลมหาพรหม (กลาย x มหาพรหมราชินี) (วงศ์กระดังงา), ว.วิทยาศาสตร์เกษตร 45(2): 163-173.
Becker, C.A. and Brink., B.V.D., 1963, Annonaceae, Fl. Java 1: 100-116.
Chih-Hua, T. and David, M.J., 2003, Comparative development of aseptate and septate anthers of annonaceae, Am. J. Bot. 90: 832-848.
Kessler, P.J.A., 1993, Annonaceae, pp. 93-129, In Kubitzki, K., Rohwer J.G. and Bittrich, V. (Eds.), The Families and Genera of Vascular Plants, Flowering Plant: Dicotyledons, 2nd Ed., Spinger-Verlag, Berlin.
Ray, P.K., 2002, Breeding Tropical and Subtropical Fruits, Springer Verlag, Berlin, 338 p.
Weerasooriya, A.D., Chalermglin, P. and Saunders, R.M.K., 2004, Mitrephora sirikitiae (Annonaceae): A remarkable new species endemic to northern Thailand, Nordic J. Bot. 24: 201-206.