ผลของสูตรปุ๋ยต่อผลผลิตและคุณภาพผลของมัลเบอร์รี พันธุ์เชียงใหม่ 60

Main Article Content

เจนจิรา ชุมภูคำ
อัครพล ศรีวิชัย
อารยา อาจเจริญ เทียนหอม

Abstract

บทคัดย่อ


ศึกษาผลของสูตรปุ๋ยต่อผลผลิตและคุณภาพผลมัลเบอร์รีพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ปลูกในกระถาง ขนาด 16 นิ้ว ณ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomize design) ประกอบด้วย 6 ทรีตเมนต์ ได้แก่ (1) ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม) (2) ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 (3) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 (4) ปุ๋ยมูลค้างคาว (6-3-3) (5) ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาว และ (6) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาว ทุกทรีตเมนต์ใส่ปุ๋ยอัตรา 10 กรัม/ต้น ทุกสัปดาห์จนเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 มีผลทำให้มีจำนวนตารวม (33.62 ตา) มีน้ำหนักผล (2.39 กรัม) จำนวนผลต่อช่อ (3.79 ผล) จำนวนผลต่อต้น (45.91 ผล/ต้น) ปริมาณผลผลิต (92.29 กรัม/ต้น) และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้สูงที่สุด (15.61 บริกซ์) ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลมัลเบอร์รีพันธุ์เชียงใหม่ 60 ได้ 


คำสำคัญ : ปุ๋ยเคมี; ปุ๋ยมูลค้างคาว; ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ; จำนวนผล


 


Abstract


The effects of fertilizer formula on yield and quality of ‘Chiangmai 60’ mulberry fruit were studied in 16 inches plastic pots, at Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, during November 2016 to February 2017. Experiment was completely randomized design by 6 treatments, i.e. (1) no fertilizer, (2) chemical fertilizer (16-16-16), (3) chemical fertilizer (8-24-24), (4) bat guano fertilizer (6-3-3), (5) chemical fertilizer (16-16-16) and bat guano fertilizer, (6) chemical fertilizer (8-24-24) and bat guano fertilizer. Fertilizers were applied 10 g/tree in each treatment every week until harvest. The results showed that the chemical fertilizer (8-24-24) gave the highest values of mix bud (33.62 buds), weight (2.39 g), fruit number per branch (3.79 fruit/branch), fruit number per tree (45.91 fruit/tree), yield of mulberry fruit (92.29 g/tree) and total soluble solid (15.61 °brix). Therefore, the 8-24-24 fertilizer was the most suitable for producing and improving a quality of ‘Chiangmai 60’ mulberry. 


Keywords: chemical fertilizer; bat guano; total soluble solid; fruit number

Article Details

How to Cite
ชุมภูคำ เ., ศรีวิชัย อ., & เทียนหอม อ. อ. (2018). ผลของสูตรปุ๋ยต่อผลผลิตและคุณภาพผลของมัลเบอร์รี พันธุ์เชียงใหม่ 60. Thai Journal of Science and Technology, 7(3), 231–238. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.26
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

เจนจิรา ชุมภูคำ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อัครพล ศรีวิชัย

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อารยา อาจเจริญ เทียนหอม

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

กุศล เอี่ยมทรัพย์ และสดศรี เนียมเปรม, 2558, ผลของการฉีดพ่นปุ๋ยยูเรีย เอ็นเอเอ เอทีฟอน และการปลิดใบต่อการออกดอกคุณภาพ และผลผลิตมัลเบอร์รีกินผล, ว.วิทยาศาสตร์เกษตร 46(พิเศษ 3): 867-869.
จารุตา จิตรอิ่ม, 2559, ผลของการตัดแต่งกิ่ง โน้มกิ่ง และลิดใบต่อผลผลิตผลของมัลเบอร์รี่พันธุ์เชียงใหม่ 60, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ.
ชุติมา ชมเดช, 2549, ผลของการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมสูงต่อปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้ในมะพร้าวอ่อน, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ตรีชฎา อุทัยดา, 2556, การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมลูกมัลเบอร์รี, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.
ปรียชยา คล้ายทวน, 2553, น้ำมูลค้างคาวสกัดเข้มข้น บำรุงดอกให้ผลดกยืดเวลาการให้ผลผลิตได้นานขึ้น, ว.เกษตรกรรมธรรมชาติ 13: 53-56.
พีรเดช ทองอำไพ, 2529, ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย, หจก. ไดนามิคการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา และสุรเดช จินตกานนท์, 2521, ธาตุอาหารพืช, เอกสารประกอบคำบรรยาย, ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วสันต์ นุ้ยภิรมย์, 2546, มัลเบอร์รีรับประทานผลและแปรรูป, สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สุวพันธุ์ รัตนะรัต, นงลักษณ์ วิบูลสุข, พิชิต พงษ์สกุล, จิรพงษ์ ประสิทธิเขตร, มณเฑียร จินดา และสุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์, 2543, ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
สังคม เตชะวงค์เสถียร, 2547, สรีรวิทยาของพืชสวน, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศิริพร บุญชู และพรพิณี บุญบันดาล, 2543, การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมัลเบอร์รี, โรงพิมพ์ฟันนี่, กรุงเทพฯ.
Aramwit, P., Bang, N. and Srichana, T., 2010, The properties and stability of anthocyanins in mulberry fruits, Food Res. Int. 43: 1093-1097.
Venkatesh, K.R. and Seema, C., 2008, Mulberry: Life enhancer,J. Med. Plant Res. 2: 271-278.