การผสมเกสรที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่องจัดอยู่ในพืชสกุล Annona เป็นผลไม้ที่นิยมในการบริโภค เนื่องจากมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม และเมล็ดน้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมเกสรที่มีผลต่อการเจริญเติบโต รวมถึงช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวของผลน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 พบว่าเปอร์เซ็นต์การผสมเกสรระหว่างวิธีการผสมแบบธรรมชาติและการผสมด้วยมือเท่ากับ 29 และ 38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการศึกษาเปรียบเทียบขนาดของผล การเปลี่ยนแปลงสีภายนอกและภายในผลของทั้งสองวิธี ตลอดจนการพัฒนาของเมล็ด โดยการชั่งน้ำหนักผลตั้งแต่อายุผล 2-14 สัปดาห์ พบว่าการเจริญเติบโตของผลน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่องเป็นแบบ double sigmoid curve อย่างไรก็ตาม ทั้งขนาดและรูปทรงของผลมีลักษณะไม่แตกต่างกัน จากนั้นจึงศึกษาช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เนื่องจากน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่องมีอายุการเก็บรักษาสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่ค่อนข้างเร็วหลังการเก็บเกี่ยว โดยแบ่งช่วงการเก็บเกี่ยวออกเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงที่ 1 (100-110 วัน) ช่วงที่ 2 (111-120 วัน) และช่วงที่ 3 (121-130 วัน) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 70±5 พบว่าช่วงที่ 1, 2 และ 3 ผลมีลักษณะเข้าสู่กระบวนการสุกแบบปกติ และมีคุณภาพการยอมรับของผู้บริโภค โดยมีอายุเฉลี่ย 6, 5 และ 4 วัน ตามลำดับ หลังการเก็บเกี่ยวในแต่ละช่วงอายุผล มีการเปลี่ยนแปลงสีผิวเปลือกผล ความแน่นเนื้อ คุณภาพการมองเห็น และการทดสอบปริมาณแป้ง พบว่ามีแนวโน้มลดลง สำหรับการสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดที่ ไตเตรทได้ รวมถึงอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุผลหลังการเก็บเกี่ยว
คำสำคัญ : น้อยหน่าลูกผสม; พันธุ์เพชรปากช่อง; วิธีการผสมเกสร; การเจริญเติบโต; ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว
Abstract
Petchpakchong sugar apple belongs to the genus Annona which is quite popular fruit due to its sweet taste and fragrance, and less seeds. The objectives of this investigation were to study fertilization percentages between natural and artificial approaches, and to determine growth and harvesting period of the fruit during January to June, 2017. The results revealed that fertilization percentages of natural and artificial approaches were 29 and 38 %, respectively. Fruit-size, color changing of exterior and interior peels of the fruit, seed development and fruit weight were investigated at the period of 2-14 week-old fruit. In both pollination approaches, the growth of Pethpakchong sugar apple fruit has double sigmoid curve pattern, and both size and shape were not different. Regarding to short shelf of this fruit due to rapid physiological changing, harvesting time after fertilization was concerned and studied. There were 3 old-periods of fruit, including 1st stage (100-110 day-old), 2nd stage (111-120 day-old) and 3rd stage (121-130 day-old). After harvesting all treatments, the fruits were kept at 25±2 oC and 70±5 %RH. The results presented that all harvesting periods were given normal fruit ripening and consumer acceptance scores were 6, 5 and 4 days after harvest, respectively. Moreover, peel color changes, firmness, visual quality and flour of each harvesting time period have gradually declined when harvesting time increased. In contrast, weight loss, total soluble solids, titration acidity, respiratory rate and ethylene production were increased congruence to maturity of the fruit.
Keywords: Annona atemoya; Petchpakchong; pollination approach; growth; harvesting period
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
จริงแท้ ศิริพานิช, 2546, สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 น.
ผาณิต ไทยเจริญ, 2513, การศึกษาทางชีววิทยาของดอกและพัฒนาการของผลน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ยุวดี อ่วมสำเนียง, 2548, การเจริญเติบโต ดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลของการใช้ฟิล์มพลาสติกร่วมกับอุณหภูมิต่ำต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
ยอดหญิง ทองธีระ, 2549, การเจริญเติบโต ดัชนีการเก็บเกี่ยว และการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของผลน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ยอดหญิง ทองธีระ, กวิศร์ วานิชกุล และเรืองศักดิ์ กมขุนทด, 2549, การเจริญเติบโตของผลน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14(3): 46-55.
เรืองศักดิ์ กมขุนทด และ ฉลองชัย แบบประเสริฐ, 2546, น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง, อุทยานเทคโนโลยี 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, แหล่งที่มา : http://www.rdi.ku.ac.th/ techno60/res-17/index17.html, 17 มิถุนายน 2560.
Dominguez, M. and Vendrell, 1993, Ethylene biosynthesis in banana fruit: Evolution of EFE activity and ACC level in peel and pulp during ripening, Hort. Sci. 60: 63-70.
Palma, P., Aguilera, J.M. and Stanley, D.W., 1993, A review of postharvest events in cherimoya, Postharv. Biol. Technol. 2: 187-208.
Pantastico, Er.B., Subramanyam, H., Bhatti, M.B., Ali, N. and Akamine, E.K., 1975, Harvest Indice, pp. 56-74, In Pantastico, Er.B. (Ed.), Postharvest Physiology Handling and Utilization of Tropical and Subtropical Fruits and Vegetables The AVI Publishing Company, Connecticut.
Paull, R.E., Deputy, J. and Chen, N.J., 1983, Changes in organic acids, sugars, and headspace volatiles during fruit ripening of soursop (Annona muricata L.), J. Amer. Soc. Hort. Sci. 108: 931-934.
Thakur, D.R. and Singh, R.N., 1965, Studies of pollen morphology, pollination and fruit set in some annonas, Ind. Agri. Res. Inst. 22: 10-18.
Thompson, A.K., 2003, Fruit and Vegetables Harvesting, Handling and Storage, Blackwell Publishing, Ltd., Oxford, 460 p.