การสำรวจ รวบรวม และลักษณะเฉพาะของไผ่ธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
พรชัย หาระโคตร

Abstract

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อสำรวจ รวบรวม และศึกษาลักษณะเฉพาะของไผ่ธรรมชาติในอำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าไผ่ในป่าธรรมชาติมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง โดยมีพันธุ์ไผ่ที่พบ จำนวน 90 สายพันธุ์ ซึ่งไผ่ในพื้นที่อำเภอไทรโยค ทองผาภูมิ และสังขละบุรี มีความหลากหลายสูงกว่าพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ ลักษณะลำไผ่ที่พบในเขตอำเภอทองผาภูมิและสังขละบุรีมีขนาดลำใหญ่กว่าพื้นที่อำเภอไทรโยคและศรีสวัสดิ์ อย่างไรก็ตาม ไผ่มีขนาดลำเล็กจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าและสามารถเจริญเติบโตได้ดีใกล้เคียงกับในป่าธรรมชาติ เมื่อนำมาปลูกที่สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ไผ่ที่มีความเหมาะสมสำหรับนำไปเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมในการปลูกให้กับเกษตรต่อไป จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่รวก ไผ่หางช้าง ไผ่คล้ายเลี้ยง ไผ่ผากมัน ไผ่ซางนวล ไผ่มันหมู ไผ่บงใหญ่ ไผ่ไจแอนท์ ไผ่ตงหม้อ และไผ่ข้าวหลาม 


คำสำคัญ : ไผ่; การสำรวจ; เชื้อพันธุกรรมไผ่


 


Abstract


The objectives of this research were to survey, collect and characterize the natural bamboo in four districts of Kanchanaburi province, including Sai Yok, Thongphaphum, Sangkhlaburi and Srisawat district. 90 species of natural bamboo were found in this study, indicating that these bamboo have high genetic variation. Bamboo species found in Sai Yok, Thongphaphum, and Sangkhlaburi have high genetic diversity than those in Srisawat district. The culms of bamboo found in Thongphaphum and Sangkhlaburi districts were larger than those of other areas. However, small culm species were stronger than large mature bamboo culm sizes. Moreover, small culm species were well adapted when planted at the Experimental Field of Department of Agricultural Technology, Faculty of science and technology, Thammasat University, Pathumthani. The results from this study obtained 10 selected bamboo genotypes, with high potential to process and distribute to farmers, i.e. Thyrsostachys siamensis, Melocalamus compactiflorus (Kurz) Benth, Bambusa sp., Gigantochloa densa, D. membranceus Munro, Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis) N.H.Xia & C.M.A.Stapleton, D. Brandisii (Munro) Kurz, D. giganteus Munro, Dendrocalamus asper Borker and Cephalostachyum pergracile


Keywords: bamboo; survey; germplasm

Article Details

How to Cite
พวงจิก ธ., & หาระโคตร พ. (2018). การสำรวจ รวบรวม และลักษณะเฉพาะของไผ่ธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย. Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 382–392. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.35
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

พรชัย หาระโคตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

เกสร สุนทรเสรี, 2544, ไม้ไผ่มหัศจรรย์, บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 124 น.
ชมรมคนรักไผ่, 2549, การปลูกไผ่เชิงธุรกิจ, เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, ชมรมคนรักไผ่ และภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี, 61 น.
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, 2553, การศึกษารวบรวมพันธุ์ไผ่และเทคโนโลยีการผลิตไผ่เลี้ยงเพื่อการ เกษตรยั่งยืน : รวบรวมพันธุ์ไผ่, ว.การจัดการป่าไม้ 4(8): 60-73.
นิ่มนวล วาศนา, 2528, การขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์ไผ่ในสภาพปลอดเชื้อ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 77 น.
ประเชิญ สร้อยทองคำ, 2547, การปลูกและจัดการสวนไผ่ในการพัฒนาทรัพยากรไม้ไผ่อย่างยั่งยืน, กรมป่าไม้และองค์การป่าไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ, กรุงเทพฯ, 48 น.
ปรัชญา ยังพัฒนา และระวี ถาวร, 2557, ความหลากหลายชนิดและการใช้ประโยชน์ไผ่ในประเทศไทย, น. 36-39, ใน ระวี ถาวร และรัตนติกา เพชรทองมา, ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : องค์ความรู้และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น, บริษัท ดูมายเบส จำกัด, กรุงเทพฯ.
รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์, บุญฤทธิ์ ภูริยากร และวลัยพร สถิตวิบูรณ์, 2544, ไม้ไผ่ในประเทศไทย, โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 120 น.
รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์, 2549, ไม้ไผ่ในประเทศไทยและไผ่เศรษฐกิจที่นิยมปลูกเชิงการค้า, น. 1-25, ใน การปลูกไผ่เชิงธุรกิจ, เอกสารประกอบการสัมมนา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี.
สอาด บุญเกิด, 2528, ไม้ไผ่บางชนิดในประเทศไทย, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 198 น.
สุรีย์ ภูมิภมร, 2557, ไผ่กับวิถีชุมชนท้องถิ่นไทย, น. 36-39, ใน ระวี ถาวร และรัตนติกา เพชรทองมา, ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : องค์ความรู้และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น, บริษัท ดูมายเบส จำกัด, กรุงเทพฯ.
อนันต์ อนันตโชติ, 2534, ไม้ไผ่ประเทศไทยที่น่ารู้จัก, ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 74 น.