ทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร (2) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าอาหารอินทรีย์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยซื้อสินค้าอาหารอินทรีย์จากห้างสรรพสินค้าทั่วไป (ได้แก่ บิ๊กซี โลตัส แม็คโคร เป็นต้น) และมีการตัดสินใจซื้อเนื่องจากสินค้าอาหารอินทรีย์เป็นสินค้าปลอดภัยจากสารพิษ และ (3) ปัจจัยข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย อาชีพ รายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน สถานภาพ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารอินทรีย์ และปัจจัยทางการตลาด ส่งผลต่อทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร (p £ 0.05)
คำสำคัญ : อาหารอินทรีย์; ผู้บริโภค; ทัศนคติ
Abstract
The purposes of the research were to study: (1) the attitude toward organic foods of consumers in Bangkok, (2) the buying behavior of consumers in Bangkok to the organic foods, and (3) factors affecting the attitude toward organic foods of consumers in Bangkok. The sample size composed of 400 persons whose residence in Bangkok. The statistical tools used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance. The results of the research found that: (1) the attitude toward organic foods of consumers in Bangkok was at the high level, (2) the consumers mostly had purchase behavior toward organic foods for 1 to 2 times per week, from Big C, Tesco Lotus and Makro department stores, and a decision for purchasing was related to pesticide free organic products, and (3) the general data such as age, body mass index, occupancy, salary, marriage status and the number of family members, the organic foods purchasing behaviors and the marketing factors affected the attitudes toward organic foods of consumers in Bangkok (p £ 0.05).
Keywords: organic food; consumer; attitude
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
วิฑูรย์ ปัญญากุล, 2559, ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย 2559, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท, แหล่งที่มา : http://www.greennet.or.th/sites/default/files/Thai%20OA%2016.pdf, 29 มกราคม 2561.
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ, 2539, เกษตรกรรมทางเลือก ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี, พิมพ์ดี, กรุงเทพฯ, 96 น.
ศิริวรรณ เสรัตน์, 2546, การบริหารการตลาดยุคใหม่, บริษัท ธรรมสาร จำกัด, กรุงเทพฯ, 193 น.
สุพัตรา สุภาพ, 2546, สังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 21, สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์, กรุงเทพฯ.
อานัฐ ตันโช, 2550, เกษตรทางเลือก, แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/09/29/entry-1, 29 กันยายน 2550.
Cronbach, L.J., 1951, Coefficient alpha and the internal structure of tests, Psychometrika 16: 297-334.
Yamane, T., 1973, Statistics: An Introductory Analysis, 3rd Ed., Harper and Row Publication, New York.