การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกบัวสายและลูกผสมด้วยแฮตอาร์เอพีดี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บัวสายได้รับการขนานนามว่าเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ ปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับและมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างแพร่หลาย ทำให้การจำแนกพันธุ์ด้วยลักษณะสัณฐานมีความยุ่งยากและสับสนง่าย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของบัวสาย 25 พันธุ์/สายพันธุ์ จากปางอุบล สวนบัว จังหวัดนนทบุรี ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 72 ชนิด แล้วคัดเลือกไพรเมอร์ที่ให้แถบดีเอ็นเออย่างชัดเจน ซึ่งคัดเลือกไพรเมอร์ได้ 17 ชนิด เมื่อสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอบัวสายทั้งหมดด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส พบว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอปรากฏแถบดีเอ็นเอรวมทั้งหมด 226 แถบ ขนาดประมาณ 200-3,000 คู่เบส ซึ่งเป็นแถบดีเอ็นเอที่ให้มีความหลากรูป 223 แถบ (98.67 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์และเลือกวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA ด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.01e พบว่ามีค่าดัชนีความเหมือน 0.47-0.88 และสามารถแบ่งบัวสายเป็น 3 กลุ่ม โดยผลงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์บัวสายต่อไป
คำสำคัญ : บัวสาย; แฮตอาร์เอพีดี; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การจำแนก
Abstract
Nymphaea, known as the queen of aquatic plants, has been currently cultivated as an ornamental flower with a widespread breeding. Therefore, its morphological classification seems to be difficult and confusing. This research investigated the relationships among 25 Nymphaea sp. and their hybrids from Pangubol Suan Bua in Nonthaburi province using high annealing temperature-random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD) technique. In a total of 72 primers used, 17 primers which gave obvious amplified PCR products, were selected. Then, the selected primers were used for polymerase chain reaction (PCR) and resulted in 226 DNA bands ranging from 200 to 3,000 bp. The number of polymorphic bands was 223 (98.67 %). The dendrogram was constructed using UPGMA by the NTSYS-pc ver. 2.01e program based on similarity coefficient, which ranging from 0.47 to 0.88, and resulted in three major groups. This research could be useful in the conservation and the breeding program.
Keywords: Nymphaea; high annealing temperature-random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD); genetic relationship; identification
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
นฤมล ธนานันต์, วิภาวรรณ ประสิทธิ์ และธีระชัย ธนานันต์, 2555, การจำแนกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ปรับปรุงจากพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี, Thai J. Sci. Technol. 1(2): 169-179.
นฤมล ธนานันต์, สุรีย์พร พุ่มเอี่ยม และธีระชัย ธนานันต์, 2556, การจำแนกพันธุ์และความสัมพันธุ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ช้างและลูกผสมด้วยเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดี, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21(4): 360-370.
ณัฐกานต์ โกเสนตอ, สุณิสา ณัฐพรณิชกุล และมลิ วรรณ นาคขุนทด, 2557, การจัดจำแนกพืชวงศ์บัวสายโดยใช้คลอโรพลาสต์ดีเอ็นเอ, ว.วิทยาศาสตร์บูรพา 19(3): 1-5.
ปิยดา บุสดี, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2558, การจำแนกพันธุ์มะม่วงในประเทศไทยจากลำดับดีเอ็นเอของยีน rbcL และ rpoC1, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(6): 983-993.
จุฑาทิพย์ พันธ์รูปท้าว, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2559, การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายหมู่ไนโกรเฮอร์ซูเธและลูกผสมด้วยแฮตอาร์เอพีดี, Thai J. Sci. Technol. 5(1): 77-87.
Chundet, R., Cutler, R.W., Tasanon, M. and Anuntalabhochai, S., 2007, Hybrid detection in Lychee (Litchee chinensis Sonn.) cultivars using HAT-RAPD markers, Sci. Asia. 33: 307-311.
Doyle, J.J. and Doyle, J.L., 1987, A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue, Phytochem. Bull. 19: 11-15.
Pharmawati, M. and Macfarlane, I.J., 2013, The genetic relationships of Grevillea hybrids determined by RAPD marker. HAYATI J. Biosci. 20(4): 196-200.
Rohlf, F.J., 2002, NTSYS-pc. Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System, Applied Biostatistics, Inc., New York.
Sambrook, J., Fritsch, E.F. and Maniatis, T., 1989, Molecular Cloning: A Laboratory Manual, 2nd Ed., Cold Spring Harbor Laboratory Press, New York.