ผลของปุ๋ยมูลไส้เดือน 2 ชนิด ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมใบ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ผลของปุ๋ยมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมในสภาพโรงเรือนปลูกพืช โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 7 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือน Eudrilus euginiae และ Pheretima peguana ในอัตรา 1,000, 2,000 และ 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ และไม่ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือน หลังปลูก 30 วัน พบว่าดินที่ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือน E. euginiae และ P. peguana ในทุกอัตราส่วน ทำให้ต้นผักกาดหอมมีการเจริญเติบโตและผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ยกเว้นความเข้มสีใบ โดยวัสดุปลูกที่ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือน E. euginiae ในอัตรา 2,000 และ 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าเฉลี่ยในด้านความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ น้ำหนักสดใบและราก น้ำหนักแห้งใบและราก มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบปุ๋ยมูลไส้เดือนทั้ง 2 ชนิด พบว่าปุ๋ยมูลไส้เดือนจาก E. euginiae ทำให้ต้นผักกาดหอมมีเจริญเติบโตและผลผลิตดีกว่า และอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสมต่อการปลูกผักกาดหอมมากที่สุด
คำสำคัญ : ปุ๋ยมูลไส้เดือน; ผักกาดหอม
Abstract
The effects of vermicomposts on the growth and yield of Iceberg lettuce were conducted under the greenhouse condition. The pot experiment was conducted in completely randomized design (CRD) with 7 treatments and 3 replications. The vermicomposts ratios of Eudrilus euginiae and Pheretima peguana each at 1,000, 2,000 and 4,000 kg/rai were used. The result showed that at 35 days after planting, all different vermicompost ratios gave significant difference (P < 0.05) in all growth and yield characters except for leaf color. The vermicompost from E. euginiae at the ratios of 1,000 and 4,000 kg/rai gave the best result in width shape, leaf number, leaf width, leaf length, fresh and dry weights of leaves and roots. The comparison between 2 types of earthworm, it was shown that vermicompost from E. euginiae gave the best result in all parameters and the ratio of 4,000 kg/rai was for appropriate the growth and yield of lettuce.
Keywords: vermicompost; iceberg lettuce
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ