ฤทธิ์ยับยั้ง Alternaria brassicicola ของราเอนโดไฟท์ TH121 ที่แยกได้จากใบโพทะเล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของราเอนโดไฟท์ TH121 พบว่าอยู่ในกลุ่ม coelomycete การศึกษาความเค็มของอาหารที่เหมาะสมระหว่าง 0-30 ppt (ส่วนในพันส่วน) และผลของอาหารเหลว 5 ชนิด คือ potato dextrose broth (PDB), potato dextrose broth ที่ลดสารอาหารลงครึ่งหนึ่ง (0.5xPDB), Sabouraud dextrose broth (SDB), yeast malt broth (YMB) และ low nutrient broth (LNB) ในการหมักรา TH121 เพื่อให้สร้างสารยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืช A. brassicicola พบฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุดเมื่อหมักรา TH121 ในอาหาร 0.5xPDB ที่เตรียมจากน้ำกลั่น (0.5xPDB/DW) โดยที่เมื่อนำสารสกัดปริมาตร 20 ไมโครลิตร ที่สกัดได้จากน้ำหมัก 0.5xPDB/DW ปริมาตร 100 มิลลิลิตร และละลายในสารละลาย 50 % DMSO ปริมาตร 1 มิลลิลิตร มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ A. brassicicola ด้วยวิธี disc diffusion พบระยะยับยั้งสูงสุด (inhibition distance) 0.46 เซนติเมตร หลังจากบ่มนาน 3 วัน
คำสำคัญ : ราเอนโดไฟท์; ใบโพทะเล; Alternaria brassicicola
Abstract
Based on morphological study, the endophytic fungus TH121 can be classified as coelomy-cete. Optimization study of salinity (0-30 part per thousand, ppt) and 5 broth media; potato dextrose broth (PDB), 0.5 fold concentrated potato dextrose broth (0.5xPDB), Sabouraud dextrose broth (SDB), yeast malt broth (YMB) and low nutrient broth (LNB), for high production of bioactive compounds against plant pathogenic fungus A. brassicicola. The results revealed that the strongest activity was obtained after fermention in 0.5 fold concentrated potato dextrose broth in distilled water (0.5xPDB/DW). When twenty microlitters of extract from 100 ml of 0.5xPDB/DW culture filtrate was dissolved in 1 ml of 50 % DMSO and tested for antifungal activity by disc diffusion method. The maximum inhibition distance of 0.46 cm was observed after 3 days of incubation.
Keywords: endophytic fungi; Thespesia populnea; Alternaria brassicicola
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ