การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 72 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 55 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ เมื่อคัดเลือกไพรเมอร์ 25 ชนิด ที่ให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเออย่างชัดเจนมาวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังพันธุ์ปลูก 9 พันธุ์ และพันธุ์ป่า 1 พันธุ์ พบว่าสามารถแยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ได้ด้วยแถบดีเอ็นเอที่จำเพาะกับพันธุ์ นอกจากนั้นยังพบไพรเมอร์ที่สามารถจำแนกมันสำปะหลังทั้ง 10 พันธุ์ ได้ด้วยไพรเมอร์เพียงชนิดเดียว เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่าสามารถจำแนกมันสำปะหลังได้เป็น 2 กลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.56 ถึง 0.85
คำสำคัญ : มันสำปะหลัง; อาร์เอพีดี; ความหลากหลายทางพันธุกรรม; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
Abstract
Random amplified polymorphic DNA (RAPD) technique was used to study the genetic relationship in cassava. Seventy-two random primers were screened and 55 primers could be used for DNA amplification. Twenty-five primers which gave clear amplified products were selected and used to analyze 9 cultivars and 1 wild species of cassava. The result showed differences among 10 samples with specific DNA band. In addition, some of 25 random primers were able to identify each sample even though using as only one primer. A dendrogram based on polymorphic bands showed genetic similarities among cassavas and it split into 2 groups with similarity coefficients ranging 0.56 to 0.85.
Keywords: cassava (Manihot esculenta); RAPD (random amplified polymorphic DNA); genetic diversity; genetic relationship
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ