อนาคตไผ่ไทยจะเป็นอย่างไร ?

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก

Abstract

บทคัดย่อ

ไผ่เป็นพืชอเนกประสงค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายมาตั้งแต่อดีตกาล ในปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขึ้น สามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ได้มากขึ้น ตัวอย่าง เช่น การผลิตเส้นใยเสื้อผ้าจากลำไม้ไผ่ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับไม้ไผ่ได้อย่างมาก และตลาดมีความต้องการสูง สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังใช้ลำไม้ไผ่ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต เช่น น้ำมัน ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพจากลำไม้ไผ่ ใช้ผลิตถ่านกัมมันต์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก และชาวประมงก็ยังจำเป็นต้องใช้ไม้ไผ่ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น หอย ปลา ถึงแม้จะต้องซื้อไม้ไผ่ในราคาแพงขึ้น และหายากกว่าเดิม โดยไม้ไผ่ส่วนใหญ่นำมาจากภาคเหนือ เช่น จังหวัดน่าน และแพร่ แต่สภาพของป่าไผ่ในปัจจุบันเหลือน้อยมาก เนื่องจากมีการตัดไผ่ในธรรมชาติเกินกำลังการผลิตของป่า ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันปลูกไผ่เพิ่มขึ้นก็จะเกิดปัญหาขาดแคลนไม้ไผ่มากยิ่งขึ้น แต่หากช่วยกันเพิ่มพื้นที่ปลูกไผ่ตั้งแต่บัดนี้ ป่าไผ่ก็จะมากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ และผู้เกี่ยวข้องในการแปรรูปไผ่ได้อีกมากมายมหาศาล

คำสำคัญ : ไม้ไผ่; พลังงานทดแทน; ภาวะโลกร้อน

 

Abstract

A new appliance of bamboo is not only Thai traditional wickers as the past, but in the present bamboo is more valuable and marketable in cosmetics, fabric industry, renewable energy such as biodiesel and bio gas, and activated charcoal production. Moreover, bamboo could also reduce global warming crisis. This is because, bamboo is rich in biomass. It could mitigate emission of greenhouse gas, especially carbon dioxide in atmosphere. In Thailand, bamboo is abundance in northern forest, particularly in Nan and Phrae provinces. However, illegal logging is recent problem of bamboo forest. Therefore, compensatory planting of bamboo is solution to maintain its demand.

Keywords: bamboo; renewable energy; global warming

Article Details

How to Cite
พวงจิก ธ. (2013). อนาคตไผ่ไทยจะเป็นอย่างไร ?. Thai Journal of Science and Technology, 1(3), 143–149. https://doi.org/10.14456/tjst.2012.23
Section
บทความวิชาการ
Author Biography

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120