ความหลากหลายของยีสต์บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

รัฐดา จันทร์กลั่น
ประภาพรรณ กุ่งแก้ว
สมจิตร อ่ำอินทร์
ศศิธร จินดามรกฎ

Abstract

บทคัดย่อ

ยีสต์ 135 ไอโซเลท ถูกแยกมาจากตัวอย่างดิน น้ำกร่อย ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ รากไม้ ซากใบไม้ และเห็ด รวมจำนวน 96 ตัวอย่าง จากบริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี ด้วยเทคนิค enrichment ในอาหารเหลว yeast extract-malt extract ที่เติม sodium propionate 0.2 เปอร์เซ็นต์ chloramphenicol 0.01 เปอร์เซ็นต์ และ sodium chloride 2.0 เปอร์เซ็นต์ บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมื่อจัดจำแนกโดยอาศัยอนุกรมวิธานระดับโมเลกุล ด้วยวิธีการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของโดเมน D1/D2 ใน 26S rDNA พบว่าเป็นยีสต์ที่มีการอธิบายสปีชีส์แล้ว จำนวน 131 ไอโซเลท เป็นแบสิดิโอมัยซีตัสยีสต์ จำนวน 23 ไอโซเลท ซึ่งจัดอยูในสกุล Cryptococcuss, Pseudozyma, Rhodosporidium, Rhodotorula และ Ustilago ยีสต์อื่น ๆ อีก 108 ไอโซเลท ถูกจัดเป็นแอสโคมัยซีตัสยีสต์ในสกุล Aureobasidium, Brettanomyces, Candida, Debaryomyces, Phaeoacremonium และ Pichia และพบว่ายีสต์ที่แยกได้ส่วนใหญ่ถูกจำแนกเป็น Pichia kudriavzevii นอกจากนี้การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของโดเมน D1/D2 ของ 26S rDNA ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS และ 5.8S rDNA ทำให้จำแนกยีสต์ไอโซเลท CH-140, CH-141, CH-142, CH-143 ที่แยกได้จากดินว่าเป็นแอสโคมัยซีตัสยีสต์สปีชีส์เดียวกัน และเป็นยีสต์สปีชีส์ใหม่ในสกุล Candida

คำสำคัญ : ยีสต์; ความหลากหลาย; การจัดจำแนก; ป่าชายเลน

 

Abstract

Yeasts 135 isolates were isolated from 96 natural samples i.e., soil, brackish water, leaf, flowers, fruit, root, mangrove litters and mushroom collected from the nature education center for mangrove conservation and ecotourism in Chonburi using enrichment technique in yeast extract-malt extract (YM) broth supplemented with 0.2 % sodium propionate, 0.01 % chloramphenicol and 2.0 % sodium chloride, incubated at 30°C for 48 h. Nucleotide analysis of the D1/D2 domain of the large subunit (LSU) rDNA gene revealed that the sequences of 131 isolates were known species within basidiomycetous yeast, 23 isolates in genera Cryptococcus, Pseudozyma, Rhodosporidium, Rhodotorula and Ustilago. Other 108 isolated yeast strains were ascomycetous yeast in genera Aureobasidium, Brettanomyces, Candida, Debaryomyces, Phaeoacremonium and Pichia. Therefore, mostly isolated yeast strains were identified as Pichia kudriavzevii. Furthermore, analysis of the D1/D2 domain of 26S rDNA and internal transcribed spacer (ITS) region and 5.8S rDNA identified that yeast isolate CH-140, CH-141, CH-142, and CH-143 belong to the same species and were assigned as a novel Candida species.

Keywords: yeast; diversity; identification; mangrove

Article Details

How to Cite
จันทร์กลั่น ร., กุ่งแก้ว ป., อ่ำอินทร์ ส., & จินดามรกฎ ศ. (2013). ความหลากหลายของยีสต์บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี. Thai Journal of Science and Technology, 1(3), 155–168. https://doi.org/10.14456/tjst.2012.18
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

รัฐดา จันทร์กลั่น, ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ประภาพรรณ กุ่งแก้ว, ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

สมจิตร อ่ำอินทร์, หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ศศิธร จินดามรกฎ, หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120