ประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ผสมสายพันธุ์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตข้าวอินทรีย์และควบคุมโรค

Main Article Content

จตุพร บุณณดากุล
ดุสิต อธินุวัฒน์
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ

Abstract

บทคัดย่อ

นำเชื้อปฏิปักษ์สายพันธุ์ใหม่ Bacillus subtilis สายพันธุ์ TU-Orga1 ที่แยกจากดินบริเวณรอบรากข้าวในจังหวัดปทุมธานี ผสมกับเชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ Aspergillus sp., Azotobacter sp., Saccharomyces cerevisiae และ Trichoderma sp. เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวอินทรีย์ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และประสิทธิภาพในการควบคุมโรค เปรียบเทียบกับน้ำหมักชีวภาพที่เกษตรกรผลิตขึ้นใช้เอง โดยศึกษาวิจัยในสภาพไร่นา จังหวัดพะเยา ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 กรรมวิธี ประกอบด้วยการพ่นดินก่อนปลูกร่วมกับพ่นใบ 3 ครั้ง เมื่อข้าวอายุ 40, 60 และ 90 วัน ด้วยน้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ผสมสายพันธุ์ และกรรมวิธีควบคุมที่ไม่มีการพ่นสารใด ๆ พบว่าการพ่นดินก่อนปลูกร่วมกับพ่นใบ 3 ครั้ง ด้วยจุลินทรีย์ผสมสายพันธุ์มีประสิทธิภาพส่งเสริมการเจริญเติบโตข้าวให้มีน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง ความสูงต้น จำนวนต้นต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง และผลผลิตเพิ่มขึ้น 7.39, 9.83, 3.00, 9.00, 9.45 และ 21.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้จุลินทรีย์ผสมสายพันธุ์สามารถลดความรุนแรงของโรคใบขีดสีน้ำตาล จากเชื้อ Cercospora oryzae และโรคใบจุดสีน้ำตาล จากเชื้อ Bipolaris oryzae ได้ดีที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับความรุนแรง 1.0 และ 1.2 ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม (P = 0.05)

คำสำคัญ : การควบคุมโดยชีววิธี; แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน; โรคใบขีดสีน้ำตาล; โรคใบจุดสีน้ำตาล

 

Abstract

New antagonistic strain, Bacillus subtilis TU-Orga1, from rice rhizosphere in Pathum Thani growing area and the effective strains, Aspergillus sp., Azotobacter sp., Saccharomyces cerevisiae and Trichoderma sp. were mixed and evaluated for enhancing growth of organic rice cultivar Khao Dok Mali 105 and diseases control efficiency compared to bio-organic liquid applied by farmers. The investigation had been carried out in Phayao province during July - November, 2011 using RCBD with 3 treatments (soil treated and 3-foliar spray at 40, 60 and 90-day old plants with bio-organic liquid, microbial combination and non-treated treatments). The result revealed that the treatment of microbial combination showed significant increase in percentages of stem fresh weight per tiller, stem dry weight per tiller, plant height, tiller number per hill, number of seeds per head and grain yield of rice as 7.39, 9.83, 3.00, 9.00, 9.45 and 21.8, respectively. In addition, a mixed of antagonist strains decreased narrow brown spot (Cercospora oryzae) and brown spot disease (Bipolaris oryzae) severity with score 1.0 and 1.2 respectively when they were applied and was significantly different from those of the control treatment (P = 0.05).

Keywords: biological control; N-fixing bacteria; narrow brown spot; brown spot disease

Article Details

How to Cite
บุณณดากุล จ., อธินุวัฒน์ ด., & เชื้อบุญ ว. (2013). ประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ผสมสายพันธุ์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตข้าวอินทรีย์และควบคุมโรค. Thai Journal of Science and Technology, 1(3), 189–196. https://doi.org/10.14456/tjst.2012.19
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

จตุพร บุณณดากุล, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ดุสิต อธินุวัฒน์, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ, ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900