เส้นทางของการพัฒนายารักษาวัณโรค

Main Article Content

จิรดา สิงขรรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

มีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก และปัจจุบันวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก ทุกปีทั่วโลกจะมีผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อกว่า 9.4 ล้านคน และเสียชีวิตกว่า 1.7 ล้านคน การรักษาวัณโรคจะใช้การรักษาด้วยสูตรยาขนานหลัก เนื่องจากมีข้อจำกัดในการรักษาอยู่มาก การเลือกใช้ยาในการรักษาโรคยังคงต้องวินิจฉัยเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เป็นแบบแผนตายตัว ยาเหล่านี้ใช้กันมานานกว่า 40 ปี ในปัจจุบันก็ยังไม่มียาตัวใหม่ที่มีประสิทธิผลเทียบเท่าออกมาทดแทน แม้ว่าขณะนี้จะพบว่ามีสารกว่า 30 ชนิด ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อวัณโรคได้ดี แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลอง ในรายงานนี้จึงรวบรวมการพัฒนาของยาทั้งหมดที่ใช้ในปัจจุบัน และนำเสนอโอกาสหรือความเป็นไปได้ในการพัฒนาหายาใหม่ เพื่อหาสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลสูงป้อนเข้าสู่ระบบการรักษาวัณโรคให้มากพอต่อขนานหรือตำรับยารักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

คำสำคัญ : วัณโรค; ยารักษาวัณโรค; สารสกัดธรรมชาติ; สารสังเคราะห์

 

Abstract

Mycobacterium tuberculosis (MTB) has infected one-third of the world’s population and it currently represents one of the most threatening health problems globally. Each year, 9.4 million people worldwide develop active TB and almost 1.7 million die. Decades of misuse of existing antibiotics and poor compliance with a prolonged TB drug regimen create some limitations and problematic issues with the present therapy. However, it has been over 40 years since the last new TB drug was developed and an estimated 30 antibiotics are now in various stages of preclinical or clinical development. This report presents the development of antituberculars and integrated approaches for TB drug development. The discovery and development of novel, safe and more effective anti-TB agents is now being given more attention than before and would reopen the TB drug pipeline to access new therapies.

Keywords: tuberculosis (TB); drug-resistant tuberculosis; natural extract; synthetic compound

Article Details

How to Cite
สิงขรรัตน์ จ. (2013). เส้นทางของการพัฒนายารักษาวัณโรค. Thai Journal of Science and Technology, 2(1), 1–17. https://doi.org/10.14456/tjst.2013.24
Section
บทความวิชาการ
Author Biography

จิรดา สิงขรรัตน์, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120