การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของไข่โดยการเสริมใบหม่อนและไนอะซินในอาหารไก่ไข่
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการเสริมไนอะซินและใบชาหม่อนในระดับต่าง ๆ ในอาหารไก่ไข่ต่อการผลิตไข่และคุณภาพของไข่ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้สูตรอาหารทางการค้าเป็นอาหารควบคุม (A) และอาหารควบคุมที่เสริมใบชาหม่อน 1.5 % (B) ไนอะซิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (C) ไนอะซิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (D) ใบชาหม่อน 1.5 % ผสมไนอะซิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (E) และใบชาหม่อน 1.5 % ผสม ไนอะซิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (F) การทดลองในไก่ไข่พันธุ์อิซาบราวน์อายุ 22 สัปดาห์ จำนวน 150 ตัว สุ่มออกมาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว จำนวน 30 กลุ่ม อาหารทดลองทุกสูตรมีโปรตีนและพลังงานเท่ากัน จากการศึกษาพบว่าไก่ไข่ที่ได้รับสูตรอาหารควบคุมและสูตรอาหารที่มีการเสริมไนอะซินและใบชาหม่อนในระดับต่าง ๆ ทำให้ปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่อไข่ 1 กิโลกรัม มวลไข่ น้ำหนักไข่ น้ำหนักเปลือกไข่ น้ำหนักไข่แดง น้ำหนักไข่ขาว ความสูงไข่ขาว ความหนาเปลือกไข่ ความแข็งเปลือกไข่ สีเปลือกไข่ สีไข่แดง และค่าฮอฟ์ยูนิต (Haugh unit) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างของปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดแม้จะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม
คำสำคัญ : หม่อน; ไนอะซิน; อาหารไก่ไข่
Abstract
The experiment was conducted to study the effect of supplementation of niacin and mulberry leaves in laying hen diets on production and quality of eggs. This experiment was designed as CRD (completely randomized design). The experimental diet was formulated as NRC recommedation (A), then supplemented with mulberry leaves at 1.5 % (B), niacin 500 milligram/kilogram (C), niacin 1,000 milligram/kilogram (D), mulberry leaves at 1.5 % with niacin 500 milligram/killogram (E) and mulberry leaves at 1.5 % with niacin 1,000 milligram/killogram (F). One hundred and fifty layers (Isa Brown) at 22 weeks of age were divided into 6 treatments, each with 5 replications (5 birds/replication). All diets were isonitrogenous and isocaloric. The results demonstrated that feed intake, egg production, feed conversion per 1 killogram of egg, egg mass, egg weight, shell weight, yolk weight, albumin weight, albumin height, shell thickness, shell strength, shell color, yolk color and Haugh unit were not significantly different among treatments (P>0.05). Blood cholesterol tend to be decreased, although significant was not obsearved.
Keywords: Morus alba; niacin; layer diet
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ