ความคงตัวของสีแดงที่สกัดได้จากการเลี้ยงราที่คัดแยกได้ในอาหารเหลว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีราในกลุ่ม Monascus spp. สามารถผลิตสารสีแดงได้ ซึ่งราชนิดนี้นิยมนำไปใช้ในการผลิตข้าวแดง ดังนั้นในการศึกษานี้ ได้นำราที่คัดแยกได้จากผลิตภัณฑ์ข้าวแดง 2 ตัวอย่าง (A และ B) จำนวน 6 ไอโซเลต คือ A7, A9, A22, B3, B5 และ B8 มาเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงแบบเหลว พบว่า A22 ผลิตสารสีแดง (ในภาพรวม) ได้มากที่สุด และจากการศึกษาความคงตัวในภาวะต่าง ๆ ของสีที่ผลิตได้ เปรียบเทียบกับสีมาตรฐาน พบว่า A22 ให้ผลความคงตัวที่ดีที่สุดในทุกสภาวะและดีกว่าสารสีมาตรฐาน (Wisdom red และ Carophyll red) จากข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการผลิตสีแดงจากราในอุตสาหกรรมต่อไป
คำสำคัญ : ความคงตัวของสารสีแดง; การเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว; รา Monascus spp.
Abstract
From previous study, Monascus spp. produced red pigments. Therefore it is favorable for Angkak production. This study investigated red pigment production in submerged culture by using 6 isolated fungi, A9, A22, B3, B5 and B8, those obtained from 2 Angkak samples (A and B). A22 showed the overview highest pigment production. Moreover, the stabilities of various conditions of red pigments were examined with the comparison of commercial red pigments. It was found that isolate A22 provided the best stabilities in all conditions and better than those obtained from commercial red pigments (Wisdom red and Carophyll red). These results revealed the information for development of the industrial red pigments production.
Keywords: red pigment stabilities; submerged cultivation; Monascus spp.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ