การวิเคราะห์โครงข่ายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาแบบจำลองที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับจุดรองรับขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

Main Article Content

อุทุมพร อินทร์จอหอ
ธัญญรัตน์ ไชยคราม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์โครงข่ายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อหาแบบจำลองที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับจุดรองรับขยะมูลฝอย ในพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางเดินรถเก็บขนขยะ ภายใต้จุดรองรับขยะที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน ต่อการเข้าถึงของประชากรในชุมชนเทศบาลนครนครราชสีมา จากการลงสำรวจพื้นที่และจัดเก็บตำแหน่งและเส้นทางของจุดรองรับขยะมูลฝอย ด้วยเครื่องกำหนดระบบตำแหน่งบนพื้นโลก (global positioning system, GPS) จำนวน 2 เส้นทาง คือ สาย 125 และสาย 84 โดยการวิเคราะห์ network analysis ทฤษฎี best route analysis พบว่ามีจุดรองรับขยะทั้งหมดจำนวน  288 ถัง การเดินรถเก็บขนขยะมูลฝอยสายที่ 1 สาย 125 เดินรถเป็นระยะทาง 14.578 กิโลเมตร ใช้เวลา 5 ชั่วโมง 40 นาที มีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,800-2,400 บาท/วัน สายที่ 2 สาย 84 เดินรถเป็นระยะทาง 28.432 กิโลเมตร ใช้เวลา 6 ชั่วโมง 40 นาที มีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,100-2,400 บาท/วัน ซึ่งเป็นงบประมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ยังไม่ครอบคลุมต่อการเข้าถึงของประชากรในพื้นที่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งและจุดจัดสรร location & allocation เพื่อเสนอแนะแบบจำลองจุดจัดสรรสำหรับรองรับขยะจุดใหม่ ด้วยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทฤษฎี maximize attendance จากจุดรองรับขยะเดิม พบว่า สามารถลดจุดรองรับขยะเหลือเพียง 257 ถัง ที่สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งพื้นที่ ระยะทางในแต่ละเส้นลดลงประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาลดลง 1 ชั่วโมง 26 นาที ในแต่ละเส้นทาง และลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 111,600 บาท/ปี


คำสำคัญ : การวิเคราะห์โครงข่าย; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; แบบจำลอง; ขยะมูลฝอย; เทศบาลนครนครราชสีมา

Article Details

How to Cite
อินทร์จอหอ อ., & ไชยคราม ธ. (2019). การวิเคราะห์โครงข่ายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาแบบจำลองที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับจุดรองรับขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา. Thai Journal of Science and Technology, 8(3), 226–237. https://doi.org/10.14456/tjst.2019.32
บท
วิทยาศาสตร์กายภาพ
Author Biographies

อุทุมพร อินทร์จอหอ

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตําบลขามเรียง อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ธัญญรัตน์ ไชยคราม

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตําบลขามเรียง อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

References

กรมควบคุมมลพิษ, 2561, การศึกษาปริมาณขยะและองค์ประกอบมูลฝอยชุมชน, แหล่งที่มา : http://buriramlocal.go.th/UserFiles/File/2559-01/4.pdf, 10 มีนาคม 2561.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2547, การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร, พิมพ์ครั้งที่ 4, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.
กรมแผนที่ทหาร, 2560, ศูนย์บริการข้อมูลทางแผนที่ (Map Information Service Center) แผนที่กระดาษ, กรุงเทพฯ.
ธนลักษณ์ ศิรธรรมธร, มัลลิกา สุกิจปาณีนิจ และพรรณี ชีวินศิริวัฒน์, 2560, การวิเคราะห์โครงข่ายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนการจัดเก็บขนขยะมูลฝอย กรณีศึกษาเทศบาลเมืองบาลกรวย จังหวัดนนทบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธัญญรัตน์ ไชยคราม, 2561, การวิเคราะห์โครงข่ายในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเลือกเส้นทางท่องเที่ยว เขตพื้นที่ 12 เมืองต้องห้าม ...พลาด ในกลุ่มการท่องเที่ยวภาคกลาง, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26(7): 1116 - 1129.
นฤเบศ เชาว์พานิช, 2554, ขยะในปัจจุบัน, แหล่งที่มา : http://chaopanich.blogspot.com/03/blog-post_2779.html, 10 มีนาคม 2561.
สำนักงานทางหลวงชนบท, 2549, มาตรฐานชั้นทางสำหรับทางหลวงท้องถิ่น, กรุงเทพฯ
สุเพชร จิรขจรกุล, 2560, เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 10.5 for Desktop, บริษัท เอ. พี. กราฟิคไซน์และการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
อัจฉราวรรณ งามญาณ, 2554, อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่, ว.บริหารธุรกิจ 34(131): 46-60.
Vijay, R., Gautam, A., Kalamdhad, A., Guptaand, A. and Devotta, S., 2008, GIS-based locational analysis of collection bins in municipal solid waste management systems, J. Environ. Eng. Sci. 7(1): 39-43.