การชักนำให้เกิดการกลายในต้นพิงกุยคูล่าโดยการฉายรังสีแกมมา

Main Article Content

ณัฐพงค์ จันจุฬา
อัญชลี จาละ

Abstract

บทคัดย่อ

พิงกุยคูล่าเป็นพืชกินแมลงที่มีความสวยงาม ซึ่งมีใบสามารถดักจับแมลงได้ ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในเมืองไทยอย่างแพร่หลาย โดยการสร้างความหลากหลายของพันธุ์ใหม่ในพืชสามารถทำได้ด้วยการปรับปรุงพันธุ์ หรือทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้รังสีชนิดต่าง ๆ หรือสารเคมี ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในต้นพิงกุยคูล่าในสภาพปลอดเชื้อด้วยรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน โดยนำชิ้นส่วนของใบพิงกุยคูล่าเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS เป็นเวลานาน 14 วัน มาฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณ 0, 20, 40 และ 60 เกรย์ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อปริมาณรังสีแกมมาที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้อัตราการรอดชีวิตของชิ้นส่วนพืชลดต่ำลง คือ ที่ปริมาณรังสี 20, 40 และ 60 เกรย์ มีอัตราการรอดชีวิต 100, 85 และ 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (20, 17 และ 15 ต้น) ที่ปริมาณรังสี 60 เกรย์ พบลักษณะของต้นอ่อนที่เกิดใหม่มีขนาดเล็ก แคระแกร็น และพบลักษณะของต้นกลายทั้งหมด 3 ต้น (จากปริมาณรังสี 20 และ 40 เกรย์) คิดเป็น 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีลักษณะใบด่างเป็นแถบขาวตรงบริเวณขอบใบ

คำสำคัญ : พิงกุยคูล่า; การกลาย; รังสีแกมมา; บัตเตอร์เวิร์ด

 

Abstract

Pinguicula sp. is a carnivorous ornamental plant with beautiful leaves. The leaves could trap insects. This plant is widely grown in Thailand. Diversity induction of new line plants could be done by selective breeding or mutation induction using either radiation or chemicals. In this study attempted to induce mutation in Pinguicula sp. in vitro using acute gamma radiation. The leaves of 14 days old after cultured on MS medium were irradiated with gamma rays at 0, 20, 40 and 60 gray. The result showed that when the amount of gamma radiation increased the survival rate of plant parts decreased and the doses of  20, 40 and 60 gray were survived 100 , 85 and 75 percentage, respectively (20, 17 and 15 above). The dose of 60 gray nature of the emerging seedling looks dwarf and found the appearance of the 3 mutants  (from doses of 20 and 40 Gy) were 5 and 10 percentage, respectively . The leaves of mutant was white stripped at the edge of leaves.

Keywords: Pinguicula; mutation; gamma radiation; Butterworth

Article Details

How to Cite
จันจุฬา ณ., & จาละ อ. (2014). การชักนำให้เกิดการกลายในต้นพิงกุยคูล่าโดยการฉายรังสีแกมมา. Thai Journal of Science and Technology, 3(2), 76–81. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.6
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ