การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์

Main Article Content

ฐิติพร โท้มโสภา
ธีระชัย ธนานันต์
นฤมล ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

กล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายเป็นกล้วยไม้ที่สวยงามและนิยมใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์ แต่ปัจจุบันข้อมูลความสัมพันธ์นั้นมีไม่ครบถ้วน รวมทั้งการจำแนกชนิดตามลักษณะสัณฐานมีความยุ่งยากและเกิดความสับสน งานวิจัยนี้จึงใช้เทคนิคแฮตอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่มที่คัดเลือกมา 20 ไพรเมอร์ และเทคนิคไอเอสเอสอาร์ โดยใช้ไพรเมอร์ไมโครแซทเทลไลต์ที่คัดเลือกมา 14 ไพรเมอร์ เพื่อตรวจสอบกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสาย จำนวน 13 ชนิด พบว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้จากเทคนิคทั้งสองสามารถจำแนกกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายทั้ง 13 ชนิด ออกจากกันได้ เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอมาวิเคราะห์และสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยวิธี UPGMA พบว่าเทคนิคทั้งสองสามารถจำแนกกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายที่ใช้ในการศึกษา 13 ชนิด ออกจากกันได้เป็น 7 กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะสัณฐาน ดังนั้นเทคนิคทั้งสองจึงสามารถใช้ในการจำแนกชนิดและบอกความสัมพันธ์ของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการปรับปรุงพันธ์ต่อไป

คำสำคัญ : สกุลหวาย; เอื้องสาย; การจำแนก; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; แฮตอาร์เอพีดี; ไอเอสเอสอาร์

 

Abstract

Dendrobium spp., Ueang Sai group, is a beautiful Thai orchid and commonly used as a parental line in orchid breeding. At present the relationship of Eugenanthe is not complete and identification of Eugenanthe based on morphology is difficult and confused. High annealing temperature - random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD) with 20 random primers and inter-simple sequence repeat (ISSR) with 14 microsatellite primers were used to identify 13 samples of Dendrobium spp., Ueang Sai group. DNA fingerprinting obtained by the two techniques could distinguish all 13 species. A dendrogram constructed based on polymorphic bands with UPGMA method showed that Dendrobium spp., Ueang Sai group, in this study could be divided into seven groups which is similar to their morphologies. Both markers can be used to identify and analyze the genetic relationship of Dendrobium spp., Ueang Sai group, and this information can be used in the breeding program in the future.

Keywords: Dendrobium; Ueang Sai; genetic relationship; identification; HAT-RAPD; ISSR

Article Details

How to Cite
โท้มโสภา ฐ., ธนานันต์ ธ., & ธนานันต์ น. (2014). การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์. Thai Journal of Science and Technology, 3(2), 82–91. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.3
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ