การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์

Main Article Content

วริสรา แทนสง่า
ธีระชัย ธนานันต์
นฤมล ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

กล้วยไม้สกุลกุหลาบเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับ แต่เนื่องจากกล้วยไม้สกุลนี้มีลักษณะลำต้นและใบคล้ายกัน การจำแนกพันธุ์โดยใช้ลักษณะสัณฐานขณะที่ไม่มีดอกจึงทำได้ยาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงใช้เทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์มาตรวจสอบและจำแนกพันธุ์กล้วยไม้สกุลกุหลาบ 13 พันธุ์ ผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่มที่คัดเลือกแล้ว 20 ไพรเมอร์ ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 323 แถบ ซึ่งเป็นแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่างกันในกล้วยไม้สกุลกุหลาบแต่ละพันธุ์ 321 แถบ ส่วนการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยใช้ไพรเมอร์ ไมโครแซทเทลไลต์ที่คัดเลือกแล้ว 10 ไพรเมอร์ ด้วยเทคนิคไอเอสเอสอาร์ ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 160 แถบ ซึ่งเป็นแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่างกันในกล้วยไม้สกุลกุหลาบแต่ละพันธุ์ 157 แถบ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์มาจัดกลุ่มโดยใช้โปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.0 พบว่าสามารถแบ่งกล้วยไม้สกุลกุหลาบได้เป็น 5 และ 6 กลุ่ม ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.26-0.70 และ 0.33-0.73 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากเทคนิคทั้งสองมาวิเคราะห์ร่วมกันพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มกล้วยไม้สกุลกุหลาบได้เป็น 5 กลุ่ม เช่นเดียวกับเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี

คำสำคัญ : สกุลกุหลาบ; การจำแนก; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; แฮตอาร์เอพีดี; ไอเอสเอสอาร์

 

Abstract

Aerides is a beautiful and fragrance orchid species, which is popular by grown as ornamental plants. Most Aerides spp. have similar stems and leaves. Therefore, identification based on morphology is difficult when flower was absent. Thus, HAT-RAPD and ISSR were used to verify and identify 13 varieties of Aerides. Twenty random primers for HAT-RAPD were selected and a total 323 scorable bands were observed. Three hundred and twenty one of these were polymorphic. In ISSR analysis 10 microsatellite primers were selected generating a total 160 scorable band, in which 157 were polymorphic. Cluster analysis of HAT-RAPD and ISSR data using the NTSYS-pc version 2.0 to calculate the similarity coefficient resulted into 5 and 6 clusters with similarity coefficients index ranged from 0.26 to 0.70. and 0.33 to 0.73, respectively. Cluster analysis of combined HAT-RAPD and ISSR data consisted of 5 clusters similar to the result of HAT-RAPD.

Keywords: Aerides; identification; genetic relationship; HAT-RAPD; ISSR

Article Details

How to Cite
แทนสง่า ว., ธนานันต์ ธ., & ธนานันต์ น. (2014). การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์. Thai Journal of Science and Technology, 3(2), 102–112. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.2
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ