อิทธิพลของแสงจากหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัด 4 ชนิด

Main Article Content

กษิดิ์เดช อ่อนศรี
ณัฐพงค์ จันจุฬา
จิรภัทร ลดาวัลย์

บทคัดย่อ

ผักสลัดเป็นพืชที่นิยมปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์หรือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เห็นได้จากธุรกิจการปลูกผักสลัดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การทดลองนี้นำผักสลัด 4 ชนิด ได้แก่ เรดโอ๊ค คอส กรีนโครอล และกรีนโอ๊ค ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีการให้แสงจากหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) จำนวน 3 สี ได้แก่ แสงสีขาว (WL) แสงสีแดง (RL) และแสงสีน้ำเงิน (BL) เพื่อหาความเหมาะสมของแสงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักสลัด 4 ชนิด ประกอบด้วย 3 ทรีทเมนต์ คือ แสงสีขาว (WL) แสงสีขาว : แสงสีน้ำเงิน : แสงสีแดง อัตราส่วน 2 : 1 : 2 (2W1B2R) และแสงสีขาว : แสงสีน้ำเงิน : แสงสีแดง อัตราส่วน 2 : 2 : 1 (2W2B1R) จำนวน 10 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) พบว่าการให้แสง 2W1B2R ทำให้ผักสลัดทั้ง 4 ชนิด มีการเจริญเติบโตทางด้านความยาวใบและความกว้างทรงพุ่มสูงที่สุด และการให้แสง WL ทำให้ผักสลัดทั้ง 4 ชนิด มีความกว้างใบ น้ำหนักสดและแห้งของต้นและราก ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์รวม และแคโรทีนอยด์รวมสูงที่สุด ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางการผลิตผักสลัดเชิงการค้าต่อไปได้

Article Details

How to Cite
อ่อนศรี ก., จันจุฬา ณ., & ลดาวัลย์ จ. (2020). อิทธิพลของแสงจากหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัด 4 ชนิด. Thai Journal of Science and Technology, 9(4), 529–538. https://doi.org/10.14456/tjst.2020.56
บท
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

กษิดิ์เดช อ่อนศรี

คณะนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000

ณัฐพงค์ จันจุฬา

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

จิรภัทร ลดาวัลย์

ภาควิชาเคมี-ฟิสิกส์ กองวิชาวิทยาศาสตร์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

References

กมล เลิศรัตน์, 2555, เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21, แก่นเกษตร 40(4): 1-8.

กษิดิ์เดช อ่อนศรี, เบญญา มะโนชัย, ปริยานุช จุลกะ, พิทักษ์ พานทอง และณัฐพงค์ จันจุฬา, 2561, การเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ในเหง้าขมิ้นอ้อยภายหลังการเก็บเกี่ยวที่อยู่ภายใต้หลอด LED สีต่าง ๆ, Thai J. Sci. Technol. 7(1): 32-47.

กษิดิ์เดช อ่อนศรี, 2560, การใช้หลอดไดโอด เปล่งแสงเพื่อเพิ่มสารสำคัญในขมิ้นอ้อย [Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe] และกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker), วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กาญจนา ลากุล, 2561, ปลูกผักสลัดไร้ดิน ปลอดสารพิษ แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า, แหล่งที่มา : https://www.sentangsedtee.com, 2 มกรา คม 2563.

พิชญ์สินี เพชรไทย และธรรมศักดิ์ ทองเกตุ, 2560, ผลของความเข้มแสงและระยะเวลารับแสงต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักกาดหอม, ว.พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4(3): 54-59.

ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ, ธีระวัฒน์ จันทึก และพิทักษ์ ศิริวงศ์, 2560, การจัดการการเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย, ว.วิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 12(2): 115-127.

ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์, 2550, LED แสงสว่างแห่งอนาคต, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรุงเทพมหานคร, ว.ส่งเสริมการลงทุน 18(11): 27-33.

สุทธิดา มณีเมือง, เนตรนภา อินสลุด, นิติ คำเมืองลือ, ประดิษฐ์ เทิดทูล และพฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย, 2558, ผลของความเข้มแสงจากชุดหลอดแอลอีดีสำหรับการเพาะปลูกที่มีต่อผักสลัดเรดโอ๊ดในระบบไฮโดรโปนิกส์, ว.มทร.อีสาน 8(1): 63-72.

หทัยชนก หมื่นกล้า, 2556, พลังหลอดไฟ LED (Light emitting diode), ว.วิทยาศาสตร์ 5(5): 36-40.

Arnason, J.T., Mata, R. and Romeo, J.T., 1995, Phytochemistry of Medicinal Plants, Springer-Verlag New York Inc., New York.

Rakesh, M., Gabriela, M., Benjamin, L. and Stephanie, L., 2009, Development of a standardized methodology for quantifying total chlorophyll and carotenoids from foliage of hardwood and conifer tree species, Can. J. Forest Res. 39: 849-861.