การวิเคราะห์การอยู่รอดจากการออกกลางคันของนักศึกษาโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเทคนิคการวิเคราะห์การอยู่รอด (survival analysis) มาศึกษาการออกกลางคันของนักศึกษาโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาฟังก์ชันความอยู่รอด (survival function) มัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอด (median survival time) และอัตราความเสี่ยงอันตราย (hazard rate) ของการออกกลางคันของนักศึกษา ด้วยวิธีของ Kaplan-Meier และเปรียบเทียบระยะเวลาการอยู่รอดของนักศึกษาโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธี Log-rank test โดยใช้ข้อมูลการจดทะเบียนเรียนของนักศึกษารุ่นปีการศึกษา 2550 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง 2556 รวมทั้งสิ้นจำนวน 203 คน จากสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window version 21.0 จากการศึกษาพบว่าไม่สามารถคำนวณค่ามัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอดของนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และสาขาสถิติมีมัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอดมากกว่าภาคเรียนที่ 2/2552 และภาคเรียนที่ 2/2553 ตามลำดับ นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มีอัตราความเสี่ยงต่อการออกกลางคันมากที่สุดเท่ากับ 0.27 ในภาคเรียนที่ 3/2550 โดยมีโอกาสที่จะอยู่รอดในการศึกษาได้นานกว่าภาคเรียนที่ 3/2550 เท่ากับ 69 % นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์มีอัตราความเสี่ยงต่อการออกกลางคันมากที่สุดเท่ากับ 0.27 ในภาคเรียนที่ 2/2551 โดยมีโอกาสที่จะอยู่รอดในการศึกษาได้นานกว่าภาคเรียนที่ 2/2551 เท่ากับ 60 % นักศึกษาสาขาสถิติมีอัตราความเสี่ยงต่อการออกกลางคันมากที่สุดเท่ากับ 0.17 ในภาคเรียนที่ 3/2550 โดยมีโอกาสที่จะอยู่รอดในการศึกษาได้นานกว่าภาคเรียนที่ 3/2550 เท่ากับ 83 % และพบว่านักศึกษาโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษทั้ง 3 สาขา มีระยะเวลาการอยู่รอดไม่แตกต่างกัน (P-value = 0.532)
คำสำคัญ : ระยะเวลาการอยู่รอด; ฟังก์ชันความอยู่รอด; มัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอด; อัตราความเสี่ยง; การออกกลางคัน
Abstract
Survival analysis was used to study the dropping out of undergraduate students (special program) of the Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Science and Technology, Thammasat University. Survival function, median survival time and hazard rate of dropping out by Kaplan-Meier method were analyzed. Survival times among mathematics students, statistics students and computer science students were compared by log-rank test. The registration data from academic year 2007 to 2013 of the total 203 undergraduate students entering in academic year 2007, were obtained from the office of the registrar. They were analyzed through survival analysis procedure by using SPSS for Window version 21.0. The results showed that the median survival time of the computer science students could not be calculated. The median survival time of Mathematics students and Statistics students were higher than the 1st semester of academic year 2009 and the 1st semester of academic year 2010, respectively. The highest hazard rate of the computer science students was 0.27 and the survival time of 69 % occurred in the 2nd semester of academic year 2007. The highest hazard rate of the mathematics students was 0.27 and the survival time of 60 % occurred in the 1st semester of academic year 2008. The highest hazard rate of the statistics students was 0.17 and the survival time of 83 % occurred in the 2nd semester of academic year 2007. The whole result indicated that there were no differences between the survival time of mathematics, statistics and computer science students (P-value = 0.532).
Keywords: survival time; survival function; median survival time; hazard rate; drop out
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ