การต้านอนุมูลอิสระและการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากโบตั๋น

Main Article Content

สุภกร บุญยืน
ธนัทภัทร เพชรรัตน์
ละมัย พวงบุรี
อธิคุณ ศรีไพร
ปาริยา ณ นคร
นิรมล ศากยวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดสารจากดอก ก้านดอก ใบ และก้านใบของโบตั๋น โดยตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดคือเอทิลอะซิเตทและเมทานอล การวิเคราะห์ความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดหยาบถูกทดสอบโดยใช้สารละลาย 2,2-ไดฟีนิล-1-ฟีคิลไฮดราซิลไฮเดรต (ดีพีพีเอช) เป็นอนุมูลอิสระ และการวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดด้วยวิธีโฟลินซิโอแคลตู ในขณะที่การวัดปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดใช้วิธีของดาส์ว จากผลการทดลองพบว่าตัวทำละลายเอทิลอะซิเตทให้สารสกัดหยาบที่แสดงปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด เท่ากับ 331.687±0.009 µg GAE/mg dry wt. และ 55.967±0.007 µg QE/mg dry wt. ตามลำดับ ดังนั้นเอทิลอะซิเตทจึงเป็นตัวทำละลายที่สามารถสกัดสารออกฤทธิ์จากโบตั๋นได้ดีที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของดอกและก้านดอก และตัวอย่างสารสกัดหยาบเอทิลอะซเตทจากดอกโบตั๋นให้ค่าการต้านอนุมูอิสระดีที่สุด (IC50 0.850±0.080 ppm) นอกจากนี้สารสกัดหยาบจากดอกและก้านดอกโบตั๋นยังแสดงความสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ได้อีกด้วย

คำสำคัญ : การต้านอนุมูลอิสระ; การต้านแบคทีเรีย; สารสกัดจากโบตั๋น

 

Abstract

The antioxidant properties of different parts of Paeonia sp, including flower, flower stalk, leaf and leaf stalk, were examined from various solvent extractions. The 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl-hydrate (DPPH) for free radical scavenging method, Folin-Ciocalteu method for total phenol compounds (TPC) and total flavonoid compounds (TFC) content by Down’s method were used to analyze the extracts. Ethyl acetate crude extracts exhibited the highest phenolic and flavonoid compounds especially from petals and flower stalk parts. The total phenols and total flavonoid compounds of flower stalk ethyl acetate extract were 331.687±0.009 µg GAE/mg dry wt. and 55.967±0.007 µg QE/mg dry wt., respectively. On this basic result, ethyl acetate and methanol showed highly potential solvent to extract the active compounds from Paeonia sp. The results are in agreement with the antioxidant activities. The greatest antioxidant activity found in the crude flower extract of ethyl acetate solvent (IC50 0.850±0.080 ppm). Furthermore, the mentioned ethyl acetate crude extracts showed high ability to inhibit bacteria Escherichia coli and Staphylococcus aureus.

Keywords: antioxidant; antibacterial; Peony crude extract; Paeonia sp.

Article Details

How to Cite
บุญยืน ส., เพชรรัตน์ ธ., พวงบุรี ล., ศรีไพร อ., ณ นคร ป., & ศากยวงศ์ น. (2015). การต้านอนุมูลอิสระและการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากโบตั๋น. Thai Journal of Science and Technology, 4(1), 37–45. https://doi.org/10.14456/tjst.2015.5
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ