ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม

Main Article Content

อรประภา อนุกูลประเสริฐ
ภาณุมาศ ฤทธิไชย

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดและอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกาดหอม โดยวางแผนการทดลองแบบ factorial in CRD เปรียบเทียบกับสิ่งทดลองควบคุม จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง คือ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรที่ 1 ของกรมพัฒนาที่ดินและปุ๋ยมูลไก่หมักคุณภาพสูง และอัตราการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 3 ระดับ คือ 1, 2.5 และ 5 กรัมไนโตรเจนต่อดิน 5 กิโลกรัม และสิ่งทดลองควบคุม ได้แก่ ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับ 1 กรัมไนโตรเจนต่อดิน 5 กิโลกรัม จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการให้ปุ๋ยที่ระดับไนโตรเจนเดียวกัน ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดทำให้สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้นกว่าการให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโค โดยเฉพาะปริมาณฟอสฟอรัสในดินหลังปลูก ซึ่งพบว่ามีค่าสูงกว่าถึง 2-4 เท่า การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกาดหอมมีค่าเพิ่มขึ้นตามระดับไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น แต่ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้ผลไม่แตกต่างกัน โดยการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดที่ระดับ 2.5 และ 5 กรัมไนโตรเจน ทำให้ต้นผักกาดหอมมีปริมาณผลผลิตมากกว่าสิ่งทดลองควบคุมที่ให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับ 1 กรัมไนโตรเจน ในด้านคุณภาพของผลผลิตพบว่าเมื่อให้ระดับไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น สารประกอบฟีนอลิกรวมมีค่าลดลง ในขณะที่การสะสมไนเตรตมีค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดกับการให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับไนโตรเจนที่เท่ากัน พบว่าผักกาดหอมที่ได้รับปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคจะมีการสะสม ไนเตรตในใบมากกว่าผักกาดหอมที่ได้รับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิด ดังนั้นในการปลูกผักกาดหอมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงควรเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดที่ระดับ 2.5 กรัมไนโตรเจน สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับ 1 กรัมไนโตรเจนได้

คำสำคัญ : ไนเตรต; ปุ๋ยเคมี; ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง; ผักกาดหอม; สารประกอบฟีนอลิกรวม

 

Abstract

The effect of type and amount of high quality organic fertilizers on growth and yield of lettuce was conducted under 2 x 3 factorial in CRD compared with the control. Seven treatments included the combination between 2 types of high quality organic fertilizers (high quality organic fertilizer FOR.1 (OF) and chicken manure (CM), with 3 rates of nitrogen applications (1, 2.5 and 5 g N/5 kg of soil). The control was chemical fertilizer combined with cow manure at 1 g N/5 kg of soil. At the same rate of 1 g N application, the results revealed that both OF and CM provided better soil chemical properties compared with the control. Especially, the available phosphorus under OF and CM treatments was 2 to 4 times higher than that of the control. For the growth and yield of lettuce, there were no significant differences between the two types of high quality organic fertilizer on the growth, fresh weight and dry weight of lettuce. However, all the measurements significantly increased with the rise of the nitrogen applications. Considerably higher than that of the control, the yields of lettuce were obtained at 2.5 and 5 g N applications of OF and CM, respectively. Related to the lettuce product quality, the total phenolic compound was significantly decreased, whereas the nitrate accumulation was remarkably increased with the raise of nitrogen applications. Comparison between OF and CM treatments, and the control at the same nitrogen level, it was shown that the nitrate accumulation in lettuce leaves under the control was higher than that under both organic treatments. It appears that in order to obtain the quality products and reduce the risk of nitrate accumulation, high-quality organic fertilizer is more suitable than chemical fertilizer, as it was seen in the experiment where both organic fertilizers at 2.5 g N level can replace the 1 g N applications of chemical fertilizer combined with cow manure.

Keywords: chemical fertilizer; high quality organic fertilizer; lettuce; nitrate; total phenolic compound

Article Details

How to Cite
อนุกูลประเสริฐ อ., & ฤทธิไชย ภ. (2015). ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. Thai Journal of Science and Technology, 4(1), 81–94. https://doi.org/10.14456/tjst.2015.20
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ