อิทธิพลของ BA, IAA, 2,4-D และ Kinetin ต่อการขยายพันธุ์ต้นแก้วมังกรจากไฮโปรคอทิลและใบจริงในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ใบจริงของต้นอ่อนแก้วมังกรที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้ออายุ 8 สัปดาห์ ตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนปลายใบแท้ ส่วนกลางใบแท้ และส่วนโคนใบแท้ รวมทั้งส่วนไฮโปรคอทิล โดยนำแต่ละส่วนมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม BA หรือ IAA เข้มข้น 0-5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดยอดและราก และ 2,4-D เข้มข้น 0-5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส จากการศึกษาพบว่า IAA 0 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดและรากได้ดีกว่า BA และส่วนไฮโปคอทิลมียอดใหม่งอกออกมามากที่สุด เฉลี่ย 1.2 และ 1.06 ยอด ความยาวยอดเฉลี่ย 0.8 และ 0.6 เซนติเมตร ตามลำดับ และสามารถชักนำให้เกิดรากมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.6 และ 2.8 ราก ความยาวรากเฉลี่ย 5.2 และ 3.2 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วน 2,4-D เข้มข้นต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสจากส่วนกลางใบแท้ได้เล็กน้อย
คำสำคัญ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช; ฮอร์โมนพืช; แก้วมังกร
Abstract
Explants of Hylocereus undatus (Haw) Brit. & Rose (dragon fruit) from true leaf divided to three sections (base, middle and top of leaf) and hypocotyl cultured on MS medium supplemented with 0-5 mg/l BA or IAA for root and shoot induction and 0-5 mg/l 2,4-D for callus induction. It was found that MS medium supplemented with 0 and 2.0 mg/l IAA gave the result better than BA It gave the highest number of root and shoot induction and hypocotyl gave the highest number of new shoots (average 1.2 and 0.6 shoots, respectively) and highest length of shoot (average 0.8 and 0.6 cm., respectively), and induced the highest number of roots (average 3.6 and 2.8 roots, respectively) and their average length of root were 5.2 and 3.2 cm., respectively. 2,4-D less than 1 mg/l were induced explants (middle part of leaf) produced small amount of callus.
Keywords: plant tissue culture; plant hormone; dragon fruit; Hylocereus undatus
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ