วัชพืชต่างถิ่นสกุลผักเผ็ดแม้วในประเทศไทย : ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและการรุกรานทางชีวภาพ

Main Article Content

โองการ วณิชาชีวะ

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการรุกรานของสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก กระบวนการจัดการสิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่นเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลทั้งทางด้านระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรม การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านอณูชีววิทยาเพื่อตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อให้เข้าใจความสามารถการแพร่กระจาย และนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการจัดการวัชพืชกลุ่มนี้ต่อไป จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของผักเผ็ดแม้วในประเทศไทยจำนวน 45 ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี 20 ไพรเมอร์ เทคนิคไอเอสเอสอาร์ 20 ไพรเมอร์ และเทคนิคเอสอาร์เอพี 30 คู่ไพรเมอร์ พบว่า 15 ไพรเมอร์อาร์เอพีดี 10 ไพรเมอร์ไอเอสเอสอาร์ และ 30 คู่ไพรเมอร์เอสอาร์เอพีสามารถให้รูปแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชกลุ่มนี้ได้ สันนิษฐานว่ากระบวนการสำคัญในการรุกรานของพืชกลุ่มนี้จะใช้การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ รวมถึงการนำเข้าของวัชพืชกลุ่มนี้หลายครั้ง ทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างสูง 

คำสำคัญ: ผักเผ็ดแม้ว; วัชพืชต่างถิ่น; เครื่องหมายทางโมเลกุล

 

Abstract

Bioinvasion by invasive alien species is now considered as a major threat to global biodiversity. Management proceedings that prevent the spread and impacts of alien invasive species require information of their ecological and genetic characteristics. The present study aims to use molecular biotechnologies to detect genetic characteristics in order to help understand its distribution and to develop effective management strategies. The detection of genetic variation from 45 accessions of Crassocephalum collected from various regions of Thailand was studied using random amplified polymorphic DNA (RAPD), inter-simple sequence repeats (ISSR) analysis and sequence-related amplified polymorphism (SRAP). Twenty RAPD primers, twenty ISSR primers and thirty SRAP primers were initially screened for analysis which fifteen RAPD primers, ten ISSR primers and thirty SRAP primers were chosen for further analysis. The findings indicate that during Crassocephalum invasion, sexual reproduction and multiple introductions have maintained high genetic diversity. 

Keywords: Crassocephalum; alien weed; molecular maker

Article Details

How to Cite
วณิชาชีวะ โ. (2015). วัชพืชต่างถิ่นสกุลผักเผ็ดแม้วในประเทศไทย : ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและการรุกรานทางชีวภาพ. Thai Journal of Science and Technology, 4(2), 165–176. https://doi.org/10.14456/tjst.2015.25
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ