พรรณไม้ลูกผสมข้ามชนิด (กลาย x มะป่วน) สกุลมหาพรหม วงศ์กระดังงา

Main Article Content

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์
ปิยะ เฉลิมกลิ่น
ธานี ศรีวงศ์ชัย

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพรรณไม้ลูกผสม (กลาย x มะป่วน) รวมทั้งพัฒนาการของดอกและผลของกลายและมะป่วน สกุลมหาพรหม วงศ์กระดังงา ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 - 2557 พบว่ากลายมีใบขนาดเล็ก เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน จำนวนดอกต่อกิ่งมาก ดอกบานเร็ว และทรงพุ่มมีขนาดเล็ก ส่วนมะป่วน ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นชัด ดอกดก แต่ออกดอกปีละครั้ง และทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ เกสรเพศเมียของกลายและมะป่วนพร้อมรับการผสมในช่วงเช้าวันแรกที่ดอกบาน ส่วนเกสรเพศผู้จะปลดปล่อยละอองเรณูภายหลังดอกบาน 2 วัน อัตราการผสมติด การเจริญเติบโตของผล รวมทั้งอัตราการงอกของเมล็ดลูกผสม (กลาย x มะป่วน) และกลายพันธุ์แท้ไม่แตกต่างกัน หลังจากเมล็ดลูกผสมงอกอายุเพียง 1 ปี ต้นกล้าสามารถออกดอกได้ ลักษณะโครงสร้างใบและเส้นใบเป็นร่างแหชัดเจนสีเขียวเข้มเหมือนมะป่วน แต่มีขนาดเล็กเท่ากับกลาย ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกชั้นในยาวกว่ากลีบดอกชั้นนอก ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับมะป่วนมากกว่ากลาย 

คำสำคัญ : กลาย; มะป่วน; สกุลมหาพรหม

 

Abstract

Morphology and interspecific fertilization rate of the Mitrephora keithii (mother plants), Mitrephora tomentosa (father plants), and their hybrid (M. keithii x M. tomentosa) were studied at Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR), Pathum Thani province during 2012 to 2014. The results showed that the M. keithii has small green leaves that are smooth on both sides. The M. tomentosa had larger size, dark green leaves and the flower is the largest size. The optimum time for pollination is in the morning on the first day of flowering. The period of releasing the pollen after blooming was 2 days. The durational time on the pollination and the germination rate of the seeds between M. hybrid and M. keithii were not difference. At the age of one year, the M. hybrid seedlings have the flowers. They were the same dark green leaves and dominant reticular veins as the M. tomentosa. But the leaves were smaller and sharper than the other. The hybrid (M. keithii x M. tomentosa) were small shrub with small leaves, short yellow outer petals and long striped inner petals. The characteristics of genetic of M. hybrids were similar to M. tomentosa than the M. keithii

Keywords: M. keithii; M. tomentosa; Mitrephora

Article Details

How to Cite
พิริยะภัทรกิจ อ., เตชะศีลพิทักษ์ ธ., วงศ์ชาวจันท์ เ., เฉลิมกลิ่น ป., & ศรีวงศ์ชัย ธ. (2015). พรรณไม้ลูกผสมข้ามชนิด (กลาย x มะป่วน) สกุลมหาพรหม วงศ์กระดังงา. Thai Journal of Science and Technology, 4(2), 185–192. https://doi.org/10.14456/tjst.2015.23
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ