เทคโนโลยีการจัดการโรคพืชในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ระบบการผลิตข้าวในปัจจุบันส่วนใหญ่มักใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก แต่หากมีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมากเกินความจำเป็นจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับสารพิษตกค้างชนิดอื่น ขณะเดียวกันมีรายงานการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ของแมลง Beauveria bassiana และแบคทีเรียในบริเวณเขตรากพืชที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (พีจีพีอาร์) Bacillus subtilis TU-Orga1 และ Pseudomonas fluorescens SP007s เพื่อลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่การใช้ชีววิธีทดแทนสารเคมียังอยู่ในวงค่อนข้างจำกัด ยิ่งไปกว่านั้นราสาเหตุโรคข้าวหลายชนิดยังต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัด จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่าง ๆ จึงกลับมามีความสำคัญต่อการควบคุมศัตรูพืชทางเลือกและจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ดังนั้นจึงได้ศึกษาประสิทธิภาพการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แต่ละสายพันธุ์ ได้แก่ B. bassiana, B. subtilis TU-Orga1 และ P. fluorescens SP007s ในสูตรสำเร็จพร้อมใช้ชนิดผงเข้าร่วมในระบบการผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เปรียบเทียบกับกรรมวิธีดั้งเดิมของเกษตรกรท้องถิ่น 2 ฤดูปลูก ติดต่อกัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 - กุมภาพันธ์ 2556 และพฤษภาคม - สิงหาคม 2556 ผลการศึกษาพบว่าสูตรสำเร็จพร้อมใช้ชนิดผงของ B. bassiana, B. subtilis TU-Orga1 และ P. fluorescens SP007s ซึ่งละลายน้ำจนได้ความเข้มข้นประมาณ 1x108 cfu/ml แล้วนำมาพ่นดินก่อนปลูก วันปลูก และเมื่อข้าวมีอายุ 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน รวม 8 ครั้ง ร่วมกับการจัดการธาตุอาหารพืช โดยใส่ปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัม/ไร่ หินฟอสเฟต 20 กิโลกรัม/ไร่ โพแทสเซียมฮิวเมท 1 กิโลกรัม/ไร่ และพ่นน้ำหมักมูลสุกร 5 กิโลกรัม/ไร่ (เมื่อข้าวอายุ 30, 45, 60, 75 และ 90 วันหลังปลูก) มีประสิทธิภาพสูงในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและลดการระบาดของโรคไหม้ (เกิดจาก Pyricularia oryzae) ใบจุดสีน้ำตาล (Bipolaris oryzae) เมล็ดด่าง (Curvularia lunata, Cercospora oryzae, B. oryzae, Fusarium semitectum และ Alternaria padwickii) ใบขีดโปร่งแสง (Xanthomonas oryzae pv. oryzicola) และขอบใบแห้ง (X. oryzae pv. oryzae) เท่ากับ 85.4, 50.4-57.4, 48.9-54.6, 38.0 และ 56.0 % ตามลำดับ และยังสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว 9-33 % เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร แสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์และเทคโนโลยีการจัดการโรคดังกล่าว มีความพร้อมในการถ่ายทอดและขยายผลสู่เกษตรกรผู้ที่ยอมรับและสนใจที่จะรับจุลินทรีย์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ไปปรับใช้กับระบบการปลูกข้าวของตนเอง และ/หรือ การปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนและความปลอดภัยของผลผลิตข้าว
คำสำคัญ : การหลีกเลี่ยงโรค; การควบคุมโดยชีววิธี; เกษตรอินทรีย์
Abstract
Generally, rice pests are predominantly controlled by chemical pesticides and synthetic fertilizers. Sometime excess chemical pesticides and synthetic fertilizationwere found that have impact on health and environment criteria in similar way as other residue effects. Biological control using entomopathogen, Beauveria bassiana and plant growth promoting rhizobacteria (PGPRs) Bacillus subtilis TU-Orga1 and Pseudomonas fluorescens SP007s has reported that significantly minimize the chemical pesticides use to control rice pests, but a few applied could replace the chemical pesticides. Moreover, some fungal pathogens resisted to fungicides. The biocontrol agents are important for the alternative control and solve above problems. Therefore, the individually application of dry formulated of B. bassiana, B. subtilis TU-Orga1 and P. fluorescens SP007s in organic rice production was examined at Khlong Luang, Pathum Thani compared to conventional practice of local farmer in 2 crop seasons during November, 2012 - February, 2013 and May - August, 2013. In two-consecutive field trials, B. bassiana, B. subtilis TU-Orga1 and P. fluorescens SP007s formulated in a powder delivering system, applied as foliar spray (1x108cfu/ml) 8 times (before planting, 0, 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days after planting), combined with plant nutrient management by added 500 kg/rai of manure, 20 kg/rai of rock phosphate, 1 kg/rai of potassium humate and foliar spray liquid fertilizer swine manure fermentation 5 times (30, 45, 60, 75, and 90 days after planting), had most effective on promoting plant growth and decreasing blast (caused by Pyricularia oryzae), brown spot (Bipolaris oryzae), dirty panicle (Curvularia lunata, Cercospora oryzae, B. oryzae, Fusarium semitectum, and Alternaria padwickii), bacterial leaf streak (Xanthomonas oryzae pv. oryzicola) and bacterial leaf blight (X. oryzae pv. oryzae) with 85.4, 50.4-57.4, 48.9-54.6, 38.0 and 56.0 %, respectively and increased rice yield 9-33 %, compared to conventional practice. Biocontrol agents and technology should transfer and extend to farmer who accepted and interested for their own use with conventional practices and/or organic farming system for sustained system and safety rice product.
Keywords: disease escape; biocontrol; organic farming
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ