การจัดสรรเวลาของลูกกระบือปลักก่อนหย่านม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ลูกสัตว์กีบต้องพึ่งพาน้ำนมเป็นอาหารจนกระทั่งถึงอายุที่เหมาะสม หลังจากนั้นจึงสามารถมีชีวิตรอดได้โดยปราศจากน้ำนม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมก่อนหย่านมและพฤติกรรมการดูดนมของลูกกระบือปลัก ณ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 10 กันยายน พ.ศ. 2557 ใช้แม่กระบือและลูกจำนวน 5 คู่ (น้ำหนักและอายุของลูกกระบือเฉลี่ยในช่วงเริ่มต้นของการทดลองเท่ากับ 113.60 ± 28.79 กิโลกรัม และ 132.60 ± 9.76 วัน ตามลำดับ) เลี้ยงแบบขังคอก จัดเตรียมน้ำสะอาดให้ดื่มและก้อนแร่ธาตุให้เลียตลอดเวลา รวมทั้งปลักคอนกรีตให้ลงแช่ ให้หญ้ารูซี่สดวันละ 2 ครั้ง (เวลา 09:00 และ 15:00 นาฬิกา) สังเกตพฤติกรรมลูกกระบือแต่ละตัวด้วยวิธีสุ่มสังเกตแบบมองกวาดและสุ่มสังเกตเฉพาะพฤติกรรมตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2 วัน โดยผู้สังเกตที่ได้รับการฝึกฝน 6 คน การสังเกตแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาห่างกันประมาณ 3 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าลูกกระบือปลักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอยู่เฉย (593 นาที) รองลงมา ได้แก่ การเคี้ยวเอื้อง และการกินอาหาร เท่ากับ 341 และ 324 นาที ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการดูดนมของลูกกระบือรวมทั้งสิ้น 107 มื้อ พบว่าระยะเวลาทั้งหมดและความถี่ที่ใช้ในการดูดนมค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงเวลาที่ศึกษาเท่ากับ 30-34 นาทีต่อวัน และ 2-3 ครั้งต่อวัน ตามลำดับ ความถี่ในการดูดนมสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงเวลา 05:00 - 07:00, 11:00 - 13:00 และ 20:00 - 22:00 นาฬิกา ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ในการหย่านมลูกกระบือปลักแบบทางเลือก
คำสำคัญ : ลูกกระบือปลัก; ก่อนหย่านม; การดูดนม; พฤติกรรม
Abstract
Young ungulates are completely dependent on milk for nutrition up to an appropriate age, and thereafter they are capable of surviving without milk. The aim of this study was to evaluate preweaning activity-time budget and suckling behaviour in swamp buffalo calves. It was undertaken at Buriram Livestock Breeding Station, Buriram Province from 1st July to 10th September 2014. Five cow-calf pairs (the average live weight and age of calf at the start of the experiment were 113.60 ± 28.79 kg and 132.60 ± 9.76 days, respectively) were used and kept in a corral with free access to fresh drinking water and mineral blocks. A concrete wallow was also provided. The buffaloes were fed by fresh ruzi grass (Brachiaria ruziziensis) twice a day (9 a.m. and 3 p.m.). The behaviour of all calves was individually recorded during 24-hour periods using scan and behaviour sampling methods by six well-trained observers for two consecutive days at intervals of approximately 3 weeks. Buffalo calves spent the majority of time idling (593 min). The mean times spent ruminating and eating were 341 and 324 min, respectively. An analysis of 107 suckling bouts resulted in a relatively constant total daily suckling time and frequency of 30-34 min and 2-3 bouts at all ages, respectively. Peaks in suckling activity occurred from 5-7 a.m., 11 a.m. - 1 p.m. and 8-10 p.m. Further research is needed to develop alternative weaning strategies for swamp buffalo calves.
Keywords: swamp buffalo calves; preweaning; suckling; behaviour
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ