มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คือ อะไร ?

Main Article Content

ดุสิต อธินุวัฒน์
จินตนา อินทรมงคล
สมชัย วิสารทพงศ์
ปริญญา พรสิริชัยวัฒนา
ลักษมี เมตปราณี

Abstract

บทคัดย่อ

ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส) คือ กระบวนการรับรองผู้ผลิตอินทรีย์ตามหลักการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วม วิสัยทัศน์ร่วม ความโปร่งใส กระบวนการเรียนรู้ และความสัมพันธ์แนวราบ ระบบพีจีเอสถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และได้นำไปทดลองใช้ใน 8 ประเทศ ที่มีบริบทแตกต่างกัน ได้แก่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก นามิเบีย อินเดีย บราซิล อุรุกวัย และฝรั่งเศส ปัจจุบันประเทศที่นำพีจีเอสไปใช้ในการรับรองผู้ผลิตอินทรีย์มีมากกว่า 72 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย พีจีเอสทำหน้าที่ส่งเสริมภาคเกษตรอินทรีย์ในชนบทให้เติบโตภายใต้วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระบบการรับรองโดยบุคคลที่สามยังคงมีความจำเป็นควบคู่กัน สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติสำหรับประเมินผู้ผลิตอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองโดยบุคคลที่สาม ขณะที่พีจีเอสถูกขับเคลื่อนโดยองค์การนอกภาครัฐ โดยมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (มกอท.) เป็นหนึ่งหน่วยงานกลาง ผู้ซึ่งจัดทำระบบพีจีเอสแก่เกษตรกรกลุ่มนำร่อง 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จังหวัดสุรินทร์ (2) กลุ่มพีจีเอส อินทรีย์สุขใจ จังหวัดนครปฐม (3) กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ (4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และ (5) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมมีผู้ผลิตอินทรีย์ที่เข้าสู่กระบวนการรับรองด้วยพีจีเอส ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติจำนวน 280 คน บนพื้นที่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ 2,610 ไร่ ผลิตผล ได้แก่ ข้าว พืชผัก ไม้ผล สมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และปศุสัตว์ โดยผลิตผลทั้งหมดถูกนำไปจำหน่ายในตลาดเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่น โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ตลาดนัดเคลื่อนที่ โรงพยาบาล และตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในระยะการพัฒนาระบบพีจีเอส มีความจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ดังนั้นการพัฒนาระบบพีจีเอสและการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องจึงควรนำไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการเกษตรแห่งชาติ 

คำสำคัญ : พีจีเอส; เกษตรอินทรีย์; วิถีชีวิต; ภูมิปัญญาพื้นบ้าน; อาหารเพื่อสุขภาพ; อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

Abstract

Participatory guarantee system (PGS) is organic agriculture producer certifications procedure followed by principles and standard of organic agriculture based on stakeholders participation, shared vision, transparency, trust, learning process, and horizontality. PGS was developed since 2005 and tested in 8 countries including New Zealand, Australia, East Africa, Namibia, India, Brazil, Uruguay, and France under different local contexts. In the present, more than 72 countries of producers certificated by PGS included Thailand. PGS promote the growth of the organic sector under different life style in each rural area, as well as third-party certification is necessity. In Thailand, National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS) created Organic Thailand, the national organic standard for certified producers via third-party certification, where PGS was recognized by non-governmental organizations. Thai Organic Agriculture Foundation was the one of central organization set up PGS with 5 groups of farmer leadership including Tubthai, Surin; Sook Jai, Nakhon Pathom; Organic Coorperatives, Chiang Mai; MaeMok, Lampang; and Srithep, Phetchabun. Total 280 PGS farmers and area 2,610 rai of organic farm produced rice, vegetable, fruit, herb, herb products, and livestock followed the Organic Thailand standard. All products certified by PGS system distributed in local farmer market in each province, Sampran Riverside Hotel, mobile market event, hospitals, and farmer market in Bangkok. The PGS development stage needs organic sector collaboration and the regulatory framework in the country. Therefore, PGS certification system and policy development should be integrating into national agricultural development plans. 

Keywords: PGS; organic farming; life style; wisdom; healthy food; safe environment

Article Details

How to Cite
อธินุวัฒน์ ด., อินทรมงคล จ., วิสารทพงศ์ ส., พรสิริชัยวัฒนา ป., & เมตปราณี ล. (2016). มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คือ อะไร ?. Thai Journal of Science and Technology, 5(2), 119–134. https://doi.org/10.14456/tjst.2016.12
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ