การระบุพันธุ์และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมะพร้าวจากการใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การตรวจสอบพันธุ์มะพร้าวต้นสูงและต้นเตี้ย 23 พันธุ์ ด้วยเครื่องหมายอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์ 7 ไพรเมอร์ พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ทั้งหมด 98 แถบ ประกอบด้วยแถบที่มีความแตกต่างกัน (polymorphic band) จำนวน 76 แถบ คิดเป็น 77.55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้แยกพันธุ์มะพร้าวทั้ง 23 พันธุ์ได้ โดยไพรเมอร์ A04 ให้แถบดีเอ็นเอขนาดประมาณ 1,900 คู่เบส ที่พบเฉพาะในมะพร้าวต้นเตี้ย สามารถใช้แยกความแตกต่างระหว่างมะพร้าวต้นสูงกับต้นเตี้ยได้ เมื่อวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ พบว่ามีค่าดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรม (similarity index) ระหว่าง 0.495 ถึง 0.949 โดยกลุ่มมะพร้าวต้นสูงมีค่าดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรมเฉลี่ยสูงกว่าต้นเตี้ย แสดงว่ามะพร้าวต้นเตี้ยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่ามะพร้าวต้นสูง เมื่อนำมาสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.1 ใช้วิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA ที่ค่าดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรมเท่ากับ 0.78 สามารถแบ่งกลุ่มของมะพร้าวที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็น 4 กลุ่ม โดยมะพร้าวต้นสูงทุกพันธุ์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่วนมะพร้าวต้นเตี้ยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แสดงว่ากลุ่มมะพร้าวต้นสูงและต้นเตี้ยมีพันธุกรรมที่ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยกลุ่มต้นเตี้ยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า
คำสำคัญ : มะพร้าว; เครื่องหมายดีเอ็นเอ; อาร์เอพีดี; ค่าดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรม
Abstract
Twenty three varieties of tall and dwarf types coconut were investigated using RAPD technique. The total of 98 bands was generated from 7 RAPD primers in which 76 bands (77.55 %) were polymorphic. Each variety was successfully identified and a dwarf type-specific band of about 1,900 bp was amplified from A04 primer. This fragment could be used to differentiate dwarf from tall type coconut. Genetic similarity index calculated from RAPD fingerprints ranged from 0.495 to 0.949. The average similarity index of the tall type was higher than the dwarf type, indicating that the dwarf type coconut was genetically more diverse than another. The dendrogram was constructed by the NTSYS-pc program using UPGMA method. Coconut samples were separated into 4 groups at the similarity index of 0.78. The tall type was clustered in one group while the dwarf type was distributed in other three groups. Thus, genetic background of the tall and the dwarf types of coconuts were quite different and the dwarf type had more genetic diversity.
Keywords: coconut; DNA marker; RAPD (random amplified polymorphic DNA); similarity index
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ