การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน matK และ rbcL

Main Article Content

นฤมล ธนานันต์
ภัทรา หงษ์ทองดี
ธีระชัย ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

กล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีลักษณะของดอกที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอม อย่างไรก็ตาม การจำแนกกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยลักษณะสัณฐานนั้นทำได้ยาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ตำแหน่งจำเพาะของยีน matK และยีน rbcL เพื่อจำแนกและประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียน 24 ชนิด โดยเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอของยีน matK และ rbcL ด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสและหาลำดับนิวคลีโอไทด์ แล้วตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยโปรแกรม ClustalW และสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยโปรแกรม MEGA 7.0 ผลการศึกษาพบว่าแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของยีน matK และ rbcL สามารถจำแนกเอื้องเทียนได้ 17 และ 6 ชนิด ตามลำดับ โดยไม่สามารถจำแนกเอื้องเทียนทั้ง 24 ชนิด ออกจากกันได้ ดังนั้นจึงควรวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความผันแปรและเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกชนิดของเอื้องเทียน 

คำสำคัญ : กล้วยไม้; สกุลเอื้องเทียน; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; ยีน matK; ยีน rbcL

 

Abstract

The coelogyne are among the most highly prized of ornamental plants because the flowers are beautiful and fragrant. However, a method to identify the coelogyne with high genetic diversity by morphology study was difficult. This research, the nucleotide sequences of specific site were used to identify 24 samples of coelogyne. Polymerase chain reaction (PCR) was used to amplify the matK and the rbcL fragments. After that the PCR products were sequenced and analyzed by ClustalW for multiple sequence alignment and phylogenetic tree was constructed by MEGA 7.0. The results show that phylogenetic tree constructed base on the nucleotide sequences of matK and rbcL could distinguish 17 and 6 strains of coelogyne, respectively and could not be used to identify all 24 strains of them. Therefore, further analysis with more nucleotide sequence, other than matK and rbcL, to increase variable and informative sites for distinguishing coelogyne, is suggested. 

Keywords: orchid; Coelogyne; genetic relationship; matK; rbcL

Article Details

How to Cite
ธนานันต์ น., หงษ์ทองดี ภ., & ธนานันต์ ธ. (2016). การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน matK และ rbcL. Thai Journal of Science and Technology, 5(2), 169–180. https://doi.org/10.14456/tjst.2016.17
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ