ชิ้นส่วนที่เหมาะสมของต้นลินเดอเนียร์เตตราพลอยด์ที่ขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์
บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ
นุชรัฐ บาลลา
ณัฐพงค์ จันจุฬา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาชิ้นส่วนของการขยายพันธุ์ต้นลินเดอเนียร์ที่เป็นเตราพลอยด์ โดยใช้ส่วนของใบและข้อในระบบปลอดเชื้อ ดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการปรับปรุงพันธุ์พืชและเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาพืชสวน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 มีการทดลองเปรียบเทียบการขยายพันธุ์ต้นลินเดอเนียร์ที่เป็นเตราพลอยด์โดยใช้ส่วนของใบและข้อ ผลการทดลองพบว่าจากการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืชทั้งสองแบบคือในส่วนของใบและส่วนข้อเป็นระยะเวลา 45 วัน บนอาหารกึ่งแข็งสูตร ½ MS ชิ้นส่วนของใบมีอัตราการรอดชีวิตที่ต่ำกว่าชิ้นส่วนของข้อร้อยละ 70 และ 100 ตามลำดับ ส่วนสูงของต้นพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของข้อ (2.42 ซม.) ให้ความสูงที่มากกว่าจากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของใบ (1.41 ซม.) ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนของยอดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของใบ (7.90 ยอด) มีมากกว่าจากการเพาะเลี้ยงจากส่วนของข้อ (2.87 ยอด) ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ความยาวรากของต้นพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของข้อ (3.09 ซม.) ให้ความยาวรากมากกว่าจากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของใบ (1.82 ซม.) ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และจำนวนของรากที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจากชิ้นส่วนของใบ (5.63 ซม.) มีมากกว่าจากการเพาะเลี้ยงจากส่วนของข้อ (4.53 ซม.) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 

คำสำคัญ : ลินเดอเนียร์; เตตราพลอยด์; การขยายพันธุ์; การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

 

Abstract

Influence of explant to study about leaf and node explants for propagation in tissue culture. The experiments were conducted at the Laboratory of Plant Breeding and Biotechnology. Department of Horticulture. Between November, 2015 and March, 2016. A trial comparing the propagation are used by a leaf and node and the results showed that the plants are growth by part of leaf and node for a period of 45 days on semi-solid medium ½ MS the survival was 70 and 100 percent respectively. Part of node (2.42 cm) to a height greater than the parts of the plant leaves (1.41 cm), which is the difference statistically significant. The number of shoots made from the parts of the leaves (7.90 shoots) was higher than the portion of the node (2.87 shoots) with the difference statistically significant. The root length of plants from the of a node (3.09 cm) higher than the length of roots grown from pieces of leaves (1.82 cm), which are different statistically significant and the number of roots of the plant from a piece of leaf (5.63 cm) was higher than the plant from a piece of node (4.53 cm) but not significantly different statistically. 

Keywords: Lindernia; tetraploid; propagation; tissue culture

Article Details

How to Cite
เตชะศีลพิทักษ์ ธ., วงศ์ชาวจันท์ เ., เพ็ญสุริยะ บ., บาลลา น., & จันจุฬา ณ. (2016). ชิ้นส่วนที่เหมาะสมของต้นลินเดอเนียร์เตตราพลอยด์ที่ขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ. Thai Journal of Science and Technology, 5(3), 227–232. https://doi.org/10.14456/tjst.2016.22
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ