การศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่ 6 พันธุ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การเจริญเติบโตของไผ่ 6 พันธุ์ ที่ปลูก ณ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ไผ่มันหมู [Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis) N.H. Xia & C.M.A. Stapleton] ไผ่บงใหญ่ [D. brandisii (Munro) Kurz] ไผ่ไจแอนท์ (D. giganteus Munro) ไผ่ซางนวล (D. membranceus Munro) ไผ่แม่ตะวอ (D. copelandii) และไผ่วะโซ่ว (D. copelandii) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยปลูกพันธุ์ละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ต้น (กอ) โดยบันทึกข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นเวลา 6 เดือน จากการศึกษาพบว่าไผ่แม่ตะวอมีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน (376±3.98 เซนติเมตร) รองลงมา ได้แก่ ไผ่วะโซ่ว ไผ่ไจแอนท์ ไผ่มันหมู ไผ่ซางนวล และไผ่บงใหญ่ ตามลำดับ ความสูงของลำไผ่ในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพบว่าไผ่ไจแอ้นท์มีขนาดสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน คือ 2.75 เซนติเมตร และรองลงมา ได้แก่ ไผ่วะโซ่ว ไผ่แม่ตะวอ ไผ่มันหมู ไผ่บงใหญ่ และไผ่ซางนวล ซึ่งไผ่ไจแอ้นท์และไผ่แม่ตะวอในแต่ละเดือนไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จำนวนหน่อใหม่เฉลี่ยต่อกอพบว่าไผ่ซางนวลมีจำนวนหน่อใหม่สูงสุด คือ 2.91 หน่อ รองลงมา ได้แก่ ไผ่มันหมู ไผ่แม่ตะวอ ไผ่บงใหญ่ ไผ่ไจแอ้นท์ และไผ่วะโซ่ว ตามลำดับ ซึ่งไผ่ซางนวลมีจำนวนหน่อในแต่ละเดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ : ไผ่; พันธุ์ไผ่; การเจริญเติบโต
Abstract
The growth of six bamboo varieties: Pai Mun Moo [Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis) N.H. Xia & C.M.A. Stapleton], Pai Bong Yai [D. brandisii (Munro) Kurz], Pai Giant (D. giganteus Munro), Pai Sang Nuan (D. membranceus Munro), Pai Matarwor (D. copelandii) and Pai Waso (D. copelandii) were conducted at the Department of Agricultural Technology, Thammasat University, Rangsit Centre, Pathum Thani province. This experiment was conducted in completely randomized design with 4 replications and 3 plants per replication. The study was observed for 6 months during June to November 2015. The results showed that Pai Mun Moo gave the best average height of the culms in November (376±3.98 cm.), followed by Pai Waso, Pai Giant, Pai Mun Moo, Pai Sang Nuan and Pai Bong Yai, respectively. Giant bamboo had the highest culms diameter of 2.75 cm in November, followed by Pai Waso, Pai Matarwor, Pai Mun Moo, Pai Bong Yai and Pai Sang Nuan, respectively. Pai Sang Nuan was the greatest average the number of shoots (2.91 shoots/pot), followed by Pai Mun Moo, Pai Matarwor, Pai Bong Yai, Pai Giant and Pai Waso, respectively.
Keywords: bamboo; bamboo variety; growth
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ