การเพาะเมล็ดมัลเบอร์รี่ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

เจนจิรา ชุมภูคำ
นนทกร พรธนะวัฒน์
ณัฐพงค์ จันจุฬา
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์
เบ็ญจารัชด ทองยืน
มาริษา สุขปานแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อ การงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของมัลเบอร์รี่ในสภาพปลอดเชื้อ โดยการฟอกประกอบด้วย 5 กรรมวิธี ได้แก่ (1) คลอรอกซ์ 20 % นาน 10 นาที ตามด้วยคลอรอกซ์ 10 % นาน 10 นาที (2) คลอรอกซ์ 20 % นาน 5 นาที ตามด้วยคลอรอกซ์ 5 % นาน 10 นาที (3) คลอรอกซ์ 10 % นาน 10 นาที ตามด้วยคลอรอกซ์ 5 % นาน 10 นาที (4) คลอรอกซ์ 10 % นาน 10 นาที ตามด้วยคลอรอกซ์ 5 % นาน 15 นาที (5) คลอรอกซ์ 10 % นาน 20 นาที และ (6) คลอรอกซ์ 5 % นาน 20 นาที พบว่าการฟอกทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยการฟอกด้วยคลอรอกซ์ 10 % นาน 10 นาที ตามด้วยคลอรอกซ์ 5 % นาน 15 นาที มีเปอร์เซ็นต์ที่ไม่เกิดการปนเปื้อนของเมล็ดสูงที่สุด คือ 96.67 % การศึกษาผลการงอกของเมล็ดมัลเบอร์รี่ ‘เวียดนาม GQ2’ มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด คือ 70 % รองลงมา คือ ‘ไต้หวัน 203’ และ ‘ไต้หวัน Miaoli No.1’ (61.67 และ 60 % ตามลำดับ) ในขณะที่ ‘ไต้หวัน 46C019’ ไม่เกิดการงอกของเมล็ด จึงทดสอบการทำลายการพักตัวของเมล็ดมัลเบอร์รี่ ‘ไต้หวัน 46C019’ ในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าการขลิบและไม่ขลิบเมล็ดแล้วนำไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่ผสมด้วยจิบเบอเรลลิค แอซิด ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัม/ลิตร เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอก 8.33 % สำหรับการเจริญเติบโต พบว่ามัลเบอร์รี่ที่มีการเจริญเติบโตได้ดี คือ ‘ไต้หวัน 108’ และ ‘ไต้หวัน 203’ ตามด้วย ‘เวียดนาม GQ2’ โดยมีความยาวราก ความสูงต้น และความยาวใบสูงที่สุด 

คำสำคัญ : การฟอกฆ่าเชื้อ; การงอกของเมล็ด; การเจริญเติบโต; การทำลายการพักตัว

 

Abstract

This experiment studied on surface cleaning, seed germination and growth of mulberry seedling in vitro culture. Surface sterilization consist of 6 methods: (1) 20 % Chlorox® for 10 min, then 10 % Chlorox® for 10 min, (2) 20 % Chlorox® for 5 min, then 5 % Chlorox® for 10 min, (3) 10 % Chlorox® for 10 min, then 5 % Chlorox® for 10 min, (4) 10 % Chlorox® for 10 min, then 5 % Chlorox® for 15 min, (5) 10 % Chlorox® for 20 min, and (6) 5 % Chlorox® for 20 min. The results showed that all of method for surface cleaning were no significant different, by soaking in the 10 % Chlorox® for 10 min, then 5 % Chlorox® for 15 min gave the highest percentage of the uncontaminated seed (96.67 %). In the mulberry seed germination experiment, ‘Vietnam GQ2’ gave the maximum of seed germination (70 %) follow by ‘Taiwan 203’ and ‘Taiwan Miaoli No.1’ (61.67 and 60 %, respectively). Whereas, ‘Taiwan 46C019’ was no germination of seed. Therefore, effect of break dormancy on ‘Taiwan 46C019’ mulberry seed germination in vitro culture was studied. Result showed that clipping and unclipping seed culture on MS media which contained gibberellic acid have the germination rate 8.33 %. For the growth experiment, ‘Taiwan 108’, ‘Taiwan 203’ and ‘Vietnam GQ2’ mulberry were well growth of seedling, that have the best on root length, stem length and leaf length. 

Keywords: surface sterilization; seed germination; growth; break dormancy

Article Details

How to Cite
ชุมภูคำ เ., พรธนะวัฒน์ น., จันจุฬา ณ., พิพัฒน์ธนวงศ์ ณ., ทองยืน เ., & สุขปานแก้ว ม. (2016). การเพาะเมล็ดมัลเบอร์รี่ในสภาพปลอดเชื้อ. Thai Journal of Science and Technology, 5(3), 265–272. https://doi.org/10.14456/tjst.2016.26
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ