ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุรเมศวร์ ฮาชิม
รัตนา เลิศสุวรรณศรี
รมิดา ศรีเหรา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล ปัจจัยจากบริบททางสังคม และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่มีต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี โดยตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 615 คน และใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือได้ 0.845 เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม เพื่อหาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีอิทธิพลไทรอาดิก คือ (1) ปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่ เกรดเฉลี่ย (2) ปัจจัยจากบริบททางสังคม ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลใกล้ชิด และบรรทัดฐานทางสังคมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ และ (3) ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ได้แก่ ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังพบว่าบรรทัดฐานทางสังคมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอ-ฮฮล์ของนักเรียนมากที่สุด ตัวแบบที่วิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่มสามาถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้อง 77.6 % มีค่า specificity 79.5 % และมีค่า sensitivity 74.9 % 

คำสำคัญ : การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์; นักเรียนชั้นมัธยมปลาย; ทฤษฎีอิทธิพลไทรอาดิก

 

Abstract

This research aimed to study intra-personal influence factors, social context influence factors and cultural environment influence factors affecting alcohol drinking in high-school students in Pathum Thani province. There were 615 samples in the study. Survey data were collected by questionnaires. The reliability of the questionnaires was 0.845. Data analyzed with the use of descriptive statistics and binary logistic regression to find factor affecting alcohol drinking in high-school students. Research findings which expressed the factor affecting alcohol drinking from the perspective of the theory of triadic influence were: (1) Intra-personal influence factor was academic performance. (2) Social context influence factors were the drinking behavior of students’ parents and students ‘friends and social normative beliefs in alcohol drinking, and (3) Cultural environment influence factors was attitudes toward the behavior in alcohol drinking. Moreover, it presented that the strongest predictor was social normative beliefs in alcohol drinking.  The result from binary logistic regression correctly classified 77.6 % of the cases. The test presented 79.5 % specificity and 74.9 % sensitivity. 

Keywords: alcohol drinking; senior high school students; Triadic influence theory

Article Details

How to Cite
ฮาชิม ส., เลิศสุวรรณศรี ร., & ศรีเหรา ร. (2017). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology, 6(1), 1–10. https://doi.org/10.14456/tjst.2017.31
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ