ผลของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของยางพาราในสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินที่แตกต่างกัน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีศักยภาพนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ แต่ปัจจัยทางดินอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาได้ ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเป็นกรด-ด่างของดินต่อประสิทธิภาพของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพาราพันธุ์ RRIT 251 โดยวางแผนการทดลองแบบ 5x2 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ มีปัจจัยศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH 5.0, 6.0, 6.5, 7.0 และ 8.0) และ (2) ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (ไม่ใส่และใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา) เพาะเมล็ดยางพารา จากนั้นย้ายปลูกลงกระถาง เมื่อยางพารามีอายุ 12 เดือน พบว่า ยางพารามีการเจริญเติบโตและการเข้าอยู่อาศัยของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในรากมากที่สุด เมื่อปลูกในดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง 5.0 แต่การใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพาราที่ปลูกในสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน 5.0 และ 6.0 อย่างไรก็ตาม การใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีผลทำให้ยางพาราที่ปลูกในดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง 6.5, 7.0 และ 8.0 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูงและน้ำหนักแห้งมากกว่าการไม่ใส่ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ผลการทดลองนี้จึงชี้ให้เห็นว่า ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลทำให้ประสิทธิภาพของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพาราแตกต่างกัน
คำสำคัญ : ความเป็นกรด-ด่างของดิน, ยางพารา, ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา
Abstract
Arbuscular mycorrhizal (AM) fungi have a potential to replace chemical fertilizer. However, soil factor could affect an efficiency of AM fungi. Therefore, this study aimed to determine the effect of soil pH on efficiency of AM fungi on promoting growth of rubber var. RRIT 251. An experiment was undertaken in 5x2 factorial in CRD with 3 replications. Factor 1 was soil pHs (i.e. pH 5.0, 6.0, 6.5, 7.0 and 8.0). Factor 2 was AM fungi (with and without AM inoculations). Seeds were planted and then transplanted into pots. At 12 months after planting, the highest growth and AM colonization were found in rubber planting on soil pH 5.0 but AM inoculation did not affect the growth of rubber planting on soil pH 5.0 and 6.0. However, AM inoculations were shown to increase growth significantly in term of height and dry weight of rubber plantings on soil pH 6.5, 7.0 and 8.0. Therefore, these results indicated that soil pHs affected the efficiency of AM fungi on enhancing the growth of rubber at particular pHs.
Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; rubber, soil pH
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ