การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการระบุชนิดของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีกลุ่มใบเขียวด้วยเครื่องหมายสก๊อต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามธรรมชาติในพื้นที่ป่า โดยในประเทศไทยพบกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทั้งหมด 18 ชนิด จากทั่วโลกประมาณ 136 ชนิด ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีจัดเป็นไม้ดอกที่ได้รับความนิยมในการปลูกและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ เนื่องจากดอกมีสีสันที่สวยงามและหลากหลาย นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งทำให้เกิดลูกผสมมากมาย โดยทำให้ดอกบานทน ดอกมีสีสันสวยงามและหลากหลาย รวมทั้งเพิ่มมูลค่าอีกด้วย ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาการจำแนกชนิดและประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีด้วยเครื่องหมายสก๊อต โดยใช้ไพรเมอร์ 80 ชนิด ผลการวิจัยพบว่าไพรเมอร์ 17 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทั้ง 15 ชนิด ได้ และยังให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอพบแถบดีเอ็นเอที่มีความหลากรูป 219 แถบ เมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม NTSYS โดยเลือกวิธีจัดกลุ่มแบบ UPGMA พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนระหว่าง 0.7613 ถึง 0.3514 และสามารถจำแนกกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์และการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมต่อไป
คำสำคัญ : กล้วยไม้; สกุลรองเท้านารี; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การระบุชนิด; เครื่องหมายสก๊อต
Abstract
Paphiopedilum is one of the flowering plant, naturally found in forest. In Thailand, there are 18 species out of 136 species in the world. With beautiful and colourful flowers, Paphiopedilum has currently become a popular orchid in cultivation and exported many countries. Various hybrids with more colorful flowers have been widely created, resulting in an increased value of Paphiopedilum. Therefore, Start codon targeted (SCoT) marker was used to identify and investigate the genetic relationship of 15 Paphiopedilum species. The total 80 primers were screened and 17 primers could be used for DNA amplification giving clear amplified products to construct DNA fingerprints. The total 219 polymorphic bands were found. A dendrogram was constructed based on polymorphic bands using UPGMA by the NTSYS program. The results showed genetic similarities among 15 Paphiopedilum species with similarity coefficients ranging from 0.7613 to 0.3514, providing their classification into 3 clusters. These indicated that the SCoT markers are capable to specify Paphiopedilum, and use in the breeding program and further genetic resource conservation.
Keywords: orchid; Paphiopedilum; genetic relationship; identification; SCoT marker
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ