การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยด้วยเครื่องหมายสก๊อต

Main Article Content

พรประภา ศิริเทพทวี
ฐิตาพร มณีเนตร
เปรมณัช ขุนปักษี
ธีระชัย ธนานันต์
นฤมล ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

กล้วยจัดอยู่ในวงศ์ Musaceae มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปลูกอย่างแพร่หลาย กล้วยเป็นผลไม้ที่ประชาการโลกนิยมบริโภคเป็นอาหาร มีคุณค่าทางอาหารสูง ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตกล้วยเพื่อส่งออก จนเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการมายาวนานและมีการผสมกันเองในธรรมชาติ และอาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมนี้ ทำให้เกิดกล้วยพันธุ์ต่าง ๆ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและจำแนกกล้วยด้วยเครื่องหมายสก๊อต โดยคัดเลือกไพรเมอร์ จำนวน 80 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 15 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอกล้วยและให้แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจน เมื่อสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอของกล้วย 25 พันธุ์ พบว่าปรากฏแถบดีเอ็นเอที่ให้ความหลากรูป  220 แถบ เมื่อนำข้อมูลแถบดีเอ็นเอไปสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA โดยใช้โปรแกรม NTSYS พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.427-0.854 และสามารถจำแนกกล้วยเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถใช้ในการวางแผนอนุรักษ์พันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์กล้วยต่อไป

คำสำคัญ : กล้วย; เครื่องหมายสก๊อต; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การจำแนก; เครื่องหมายดีเอ็นเอ

 

Abstract

Banana belongs to the family Musaceae which is native to Asia and Southeast Asia, and later widely grows in most countires. With a high nutrition value, it becomes one of the most popular fruits for consumption. In Thailand, it has been currently produced for export to many countries. Naturally, banana has been evolved for a long time. Natural hybrids together with mutation might create many cultivars. Therefore, Start codon targeted (SCoT) marker was used to identify and investigate the genetic relationship of 25 banana cultivars.The total of 80 primers was screened and 15 primers could be used for DNA amplification giving clear amplified products to construct DNA fingerprints. The total of 220 polymorphic bands was found. A dendrogram, which constructed base on polymorphic bands using UPGMA by the NTSYS program, showed genetic similarities among 25 cultivars with similarity coefficients ranging from 0.427 to 0.854 and divided these bananas into 2 clusters. These results indicated that the SCoT markers are capable to specify banana, and can be used in the breeding program for genetic resource conservation in the future. 

Keywords: banana; start codon targeted (SCoT); genetic relationship; identification; DNA marker

Article Details

How to Cite
ศิริเทพทวี พ., มณีเนตร ฐ., ขุนปักษี เ., ธนานันต์ ธ., & ธนานันต์ น. (2017). การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยด้วยเครื่องหมายสก๊อต. Thai Journal of Science and Technology, 6(3), 271–278. https://doi.org/10.14456/tjst.2017.11
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ