การจำลองระบบแถวคอยสำหรับบริการผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระบบแถวคอยในคลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และหาแนวทางการปรับปรุงระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในคลินิกเบาหวาน ซึ่งมีจุดให้บริการ 4 จุด ได้แก่ จุดรับบัตรคิว จุดซักประวัติ ห้องตรวจโรค และจุดรับใบสั่งยา/ใบนัด โดยสร้างแบบจำลองระบบแถวคอยจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาในช่วงเวลา 06:30 ถึง 12:30 น. ของวันจันทร์ พฤหัสบดี และศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้โปรแกรม ARENA เวอร์ชัน 14 วิเคราะห์ผลตัววัดประสิทธิภาพ ได้แก่ เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ย เวลารอคอยเฉลี่ยในแต่ละหน่วยบริการ และค่าอรรถประโยชน์เฉลี่ยของเจ้าหน้าที่ ผลการศึกษาพบว่าระบบการให้บริการที่เพิ่มอายุรแพทย์ 1 คน ในห้องตรวจโรค และเพิ่มพยาบาลวิชาชีพในจุดรับใบสั่งยา/ใบนัด 1 คน โดยทั้งสองจุดบริการนี้เริ่มทำงานเร็วขึ้น จากเดิม 09:00 น. เปลี่ยนเป็น 08:30 น. เป็นระบบการให้บริการที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 38.6844 เวลารอคอยเฉลี่ยในห้องตรวจโรคและจุดรับใบสั่งยา/ใบนัดลดลงร้อยละ 44.2976 และ 52.1931 ตามลำดับ ค่าอรรถประโยชน์เฉลี่ยของอายุรแพทย์ในห้องตรวจโรคและพยาบาลวิชาชีพในจุดรับใบสั่งยา/ใบนัด ลดลงร้อยละ 49.4782 และ 50.2009 ตามลำดับ
คำสำคัญ : การจำลอง; เบาหวาน; เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ย; เวลารอคอยเฉลี่ย; ค่าอรรถประโยชน์เฉลี่ย
Article Details
References
[2] วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ และวิทยา ศรีดามา, 2543, การวินิจฉัยและการแบ่งประเภทโรคเบาหวาน, น. 1, ใน วิทยา ศรีดามา (บรรณาธิ การ), การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน, โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[3] กัลยา วานิชยบัญชา, 2537, การวิจัยขั้นดำเนินงาน : การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 340 น.
[4] ประจวบ กล่อมจิตร และกัญจนา ทองสนิท, 2554, การจำลองสถานการณ์เบื้องต้น (Introduction to Simulation), พิมพ์ครั้งที่ 1,วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ, 165 น.
[5] ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ, 2544, การจำลองแบบปัญหา (Simulation), สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 249 น.
[6] มานพ วราภักดิ์, 2550,การจำลอง (Simulation), สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 576 น.
[7] สุทธิมา ชำนาญเวช, 2552, การวิจัยดำเนินงาน (Operations research), ภาควิชาพาณิชย ศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 221 น.
[8] ปอแก้ว เรืองเพ็ง, 2556, การจำลองระบบแถวคอยแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพัทลุง, Veridian J. 6(3): 834-845.
[9] สถิตย์ เทศาราช และสมบัติ สินธุเชาวน์, 2553, การจำลองแบบปัญหาของระบบแถวคอยเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้มารับบริการ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี, แหล่งที่มา : http://app.eng.ubu.ac.th/~app/ resproject/upload/p1/23.papaer_l_sombat.pdf, 20 เมษายน 2560.
[10] ยลดา โฉมยา และอุดม จันทร์จรัสสุข, 2556, การปรับปรุงประสิทธิภาพแถวคอยโดยใช้การจำลองสถานการณ์ : กรณีศึกษา ระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำลูกกา, วิศวสารลาดกระบัง 30(1): 43-48.
[11] อณจ ชัยมณี, ชวลิต มณีศรี และจุฑา พิชิตลำเค็ญ, 2555, การวิเคราะห์แบบจำลองระบบการให้บริการอาหารจานด่วน, น. 66-72, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555, เพชรบุรี.
[12] Sam, A. and Alex, A., 2014, Queuing theory and the management of waiting-time in hospitals: The case of Anglo Gold Ashanti Hospital in Ghana, Int. J. Acad. Res. Bus. Soc. Sci. 4(2): 34-44.
[13] Dhar, S.K. and Tanzina, R., 2013, Case study for bank ATM queuing model, IOSR J. Math. 7(1): 1-5.
[14] Samuel, F.F. and Jeffrey, W.H., 2007, A Survey of queuing theory applications in healthcare, ISR Tech. Rep. 24: 1-22.
[15] Aliya, I.A., Tukur, A.S. and Abdullahi, Y. 2015, Modeling and simulation analysis of health care appointment system using ARENA, Int. J. Sci. Appl. Inform. Technol. 4(1): 1-7.
[16] รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ, 2553, คู่มือสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม Arena (ฉบับปรับปรุง), ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ, 612 น.