การศึกษาติดตามการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ระบบ Blackboard ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ระบบ Blackboard (Bb) ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 300 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยการใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ระบบ Bb วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความสมัครใจในการใช้งานระบบ (ร้อยละ 82.3) และมีความชอบในการใช้เทคโนโลยี (ร้อยละ 86) ใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าระบบ (ร้อยละ 64.8) รายการของการใช้ระบบ Bb ที่ใช้มากที่สุดคือทำแบบทดสอบ (ร้อยละ 95.7) รองลงมา คือ กระดานสนทนา (ร้อยละ 76.7) เหตุผลในการเข้าใช้งาน คือ ทำงานที่มอบหมาย (ร้อยละ 78.4) ปัญหาที่พบจากการใช้งานระบบพบว่า นักศึกษาใช้งานระบบไม่คล่องและขาดความรู้ในการใช้งาน สำหรับอาจารย์พบว่าอาจารย์ใช้งานระบบไม่คล่องเช่นกันและสั่งงานและส่งเอกสารในระบบล่าช้า นอกจากนี้การที่ระบบมีหน้าตาและรูปแบบของโปรแกรมต่างกันในแต่ละอุปกรณ์ที่ใช้รวมทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์ไม่เสถียรทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงว่าระบบ Bb มีประโยชน์ในการใช้ทบทวนบทเรียน และสามารถดูได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ : การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา; นักศึกษาพยาบาล; ระบบ Blackboard
Article Details
References
[2] วิจารณ์ พานิช, 2555. การผลิตบัณฑิตในศตวรษที่ 21, เอกสารประกอบการบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, แหล่งที่มา : http:// fda.sut.ac.th/doc-raining/budit21.pdf, 25 มีนาคม 2559.
[3] Edgar, D., 1969, Audio-Visual Methods in Teaching, 3rd Ed., Hott, Rinehart & Winston, New York.
[4] ชัชวาลย์ สิริชาญชัยกุล, 2551, ศึกษาความพึงพอใจที่เกิดขึ้นหลังจากการให้บริการ Hybrid Learning System ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาท, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.
[5] วิจารณ์ พานิช, 2556, การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21, มูลนิธิสยามกัมมาจล, กรุงเทพฯ.
[6] Krejcie, R.V. and Morgan, D.W., 1970, Determining sample size for research activities, Edu. Measurement 30: 607-610.
[7] อาทิตย์ เกียรติกำจร และภูมิพร ธรรมสถิตเดช, 2557, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี : กรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Interactive Whiteboard ในการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[8] Marchewka, T.J., Liu, C. and Kostiwa, K., 2007, An application of the UTAUT model for understanding student perceptions using course management software, Commun. IIMA. 7: 93-104.
[9] Yi, Y.M. and Hwang, Y., 2003, Predicting the use of web-based information systems: self-efficacy, enjoyment, learning goal orientation, and the technology acceptance model, Int. J. Human-Comp. Stud. 59: 431-449.
[10] พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, 2556, STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21, ว.นักบริหาร 33: 49-56.
[11] วิจารณ์ พานิช, 2555, วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรณที่ 21, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, กรุงเทพฯ.
[12] Bellanca, J. and Brandt, R., 2010, 21st Century Skills Rethinking How Students Learn, Solution Tree Press, Bloomington.
[13] The partnership for 21st century skills, 2011, Framework for 21st century learning, Available source: http://www. p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf, March 6, 2017.
[14] พรเทพ เมืองแมน และแวฮาซัน แวหะมะ, 2555, การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานรายวิชา เทคโนโลยีกราฟฟิกและการพิมพ์เพื่อการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ว.ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 23(3): 32-41.
[15] สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์, 2557, เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ e-learning, จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฉบับที่ 4, แหล่งที่มา : http://www. stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book574/KM574.pdf, 14 มกราคม 2560.
[16] ภัทรดร จั้นวันดี, 2559, การศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเกี่ยวกับการนำระบบ E-learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน, น. 46-53, การประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.